หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาของคนหูหนวก
Bachelor of Education Program in Deaf Education

Nature
Snow
Mountains
Lights
×

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ภาษาไทยชื่อเต็ม : ศึกษาศาสตรบัณฑิต (การศึกษาของคนหูหนวก)
ชื่อย่อ : ศษ.บ. (การศึกษาของคนหูหนวก)

ภาษาอังกฤษชื่อเต็ม : Bachelor of Education (Deaf Education)
ชื่อย่อ : B.Ed. (Deaf Education)

วิชาเอกไม่มี

หน่วยกิตตลอดหลักสูตร 131 หน่วยกิต

รูปแบบหลักสูตร หลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี

ประเภทของหลักสูตร    หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการ

ภาษาที่ใช้         จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทยและภาษามือไทย

การรับเข้าศึกษา1) นักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
         2) นักศึกษาที่มีการได้ยินที่พูดและฟังภาษาไทยได้ชัดเจน

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา
         1) ครูที่จัดการเรียนรู้สำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินระดับชั้นปฐมวัยและประถมศึกษา
         2) นักวิชาการทางการศึกษาด้านการศึกษาของคนหูหนวกระดับชั้นปฐมวัยและประถมศึกษา

สถานที่จัดการเรียนการสอน
         1) วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล
         2) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงเรียนโสตศึกษา โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ ศูนย์การศึกษาพิเศษและโรงเรียนที่จัดการเรียนรวม ฯลฯ

ระบบการจัดการศึกษา
         ระบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ
         1 ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์

ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรมุ่งเน้นการจัดการศึกษาที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นและสอดคล้องกับวิถีชีวิตคนหูหนวก ผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลาย โดยให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนแบบสองภาษาสองวัฒนธรรม ผ่านการเรียนร่วมกันระหว่างนักศึกษาหูหนวกและนักศึกษาที่มีการได้ยินเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สมบูรณ์ทั้งกาย จิต ปัญญา มีความเข้าใจด้านในของตนเอง สามารถสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย มีจิตวิญญาณความเป็นครู และมีทักษะการจัดการเรียนรู้สำหรับคนหูหนวก บนพื้นฐานความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรมคนหูหนวกและผู้ที่มีการได้ยิน

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร (Program Objectives)

1. มีคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพครู

2. มีความรู้และทักษะด้านออกแบบแผนการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน โดยใช้หลักการแนวคิดทฤษฎีด้านการศึกษาได้เหมาะสมกับกลุ่มผู้เรียน

3. มีความรู้และทักษะด้านการจัดการเรียนการสอนตามแผนการสอนสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ตามแผนการจัดการเรียนการสอนที่กำหนด

4. มีความรู้และทักษะด้านการใช้ภาษามือไทยเพื่อการสื่อสารและจัดการเรียนการสอน สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

5. สามารถปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลที่มีความแตกต่างหลากหลายได้อย่างเหมาะสม บนพื้นฐานความเข้าใจตนเองและผู้อื่น

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (Program-level Learning Outcomes: PLOs)

1. มีคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพครู

2. มีความรู้และทักษะด้านออกแบบแผนการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน โดยใช้หลักการแนวคิดทฤษฎีด้านการศึกษาได้เหมาะสมกับกลุ่มผู้เรียน

3. มีความรู้และทักษะด้านการจัดการเรียนการสอนตามแผนการสอนสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ตามแผนการจัดการเรียนการสอนที่กำหนด

4. มีความรู้และทักษะด้านการใช้ภาษามือไทยเพื่อการสื่อสารและจัดการเรียนการสอน สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

5. สามารถปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลที่มีความแตกต่างหลากหลายได้อย่างเหมาะสม บนพื้นฐานความเข้าใจตนเองและผู้อื่น