Skip Content
ไทย / อังกฤษ

ขณะนี้คุณอยู่ที่ | หน้าแรก | ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑ | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทวี เชื้อสุวรรณทวี

วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ
ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม - มิถุนายน ประจำปี ๒๕๔๘


บทความวิจัย : การเปรียบเทียบกฎหมายด้านคนพิการของประเทศไทย
อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา

ผู้วิจัย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทวี เชื้อสุวรรณทวี

E-mail : tavee.che@mahidol.ac.th

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นวิจัยเชิงเปรียบเทียบทางด้านนโยบายสังคม (Comparative research in social policy) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ชี้ให้เห็นถึงความเหมือนและความแตกต่างนโยบายสวัสดิการสังคมด้านคนพิการของประเทศไทย อังกฤษและสหรัฐอเมริกา 2) ค้นหาบริบท ปัจจัยทางสังคม ความเชื่อต่อคนพิการ เศรษฐกิจ การเมือง ที่มีผลกระทบต่อการเกิดขึ้น (Ontology) และการกำหนดนโยบาย บรรทัดฐานการปฏิบัติต่อคนพิการ (Normative) ของทั้งสามประเทศ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการศึกษาจากกฎหมายที่สำคัญได้แก่ พระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 ของไทย กฎหมายการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการ ปี ค.ศ. 1995 (The Disability Discrimination Act 1995 : DDA) ของประเทศอังกฤษ และกฎหมายคนพิการอเมริกัน ปี ค.ศ. 1990 (The Americans with Disability Act 1990 : ADA) ของประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังรวมถึงเอกสารอื่นๆ ทางด้านนโยบายด้านคนพิการของทั้งสามประเทศเท่าที่จะสืบค้นได้จากอินเตอร์เน็ตแล้วใช้การวิเคราะห์ด้วยวิธีการจำแนกประเภท (Typology analysis) และการตีความ (Interpretation)

ผลการศึกษาพบว่ากฎหมาย/นโยบายทางด้านคนพิการมีสิ่งที่เหมือนกัน คือ การนิยามความพิการ การกระตุ้นให้คนพิการมีอาชีพ การมองเห็นคุณค่าของความเป็นคน การได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐ แต่ที่แตกต่างกันคือ ทัศนะที่มีต่อคนพิการ ทิศทางในการพัฒนาช่วยเหลือคนพิการ การมีองค์กรติดตามด้านนโยบายอย่างจริงจัง ความชัดเจนของการนำพาคนพิการเข้าสู่อาชีพ และการมีส่วนร่วมของสังคม การมีส่วนร่วมของคนพิการในการกำหนดนโยบายและกฎหมาย ส่วนด้านบริบท ปัจจัยทางสังคม ความเชื่อต่อคนพิการ เศรษฐกิจ การเมือง พบว่างานสวัสดิการด้านคนพิการมักเริ่มต้นจากพื้นฐานของ "ความมีใจบุญ" "ใจกุศล" "จิตเมตตาผู้อื่น" และถูกมองว่าเป็นการสงเคราะห์ และอุปถัมภ์ ไม่ทำให้คนพิการได้เติบโตและงอกงาม ต่อมาได้ถูกแนวคิดความเป็นประชาธิปไตยและทุนนิยมเข้าแทรกแซงทำให้งานสวัสดิการผูกติดกับเศรษฐกิจทุนนิยมส่งผลให้มีการมองถึงประโยชน์ส่วนตน มีความเป็นปัจเจกเป็นที่ตั้ง วาทกรรมและมายาคติที่ว่าคนจะมีคุณค่าได้นั้นต้องรู้จักเป็นที่พึงของตน คนทุกคนต้องเข้าสู่ตลาดแรงงาน แนวคิดการเสริมพลังวิถีชีวิตอิสระของคนพิการถูกหยิบยกขึ้นมาเคียงคู่กับศักดิ์ศรีความเท่าเทียมของมนุษย์ แต่ฐานคติการเสริมพลังบนเศรษฐกิจแบบทุนนิยมไม่สามารถนำพาคนพิการให้ไปสู่เป้าหมายที่ต้องการได้ เพราะคนพิการยังคงเสียเปรียบ ขาดโอกาส มีความไม่เท่าเทียมอยู่เช่นเดิม กฎหมาย "กติกาทางสังคม" ไม่มีความศักดิ์สิทธิ์ ปัญหาการเลือกปฏิบัติยังพบเห็นได้ทั่วไป

Abstract

The purposes of this comparative research were to explore the features of disability laws/policies regarding disability in terms of their different and similar natures of Thailand, United Kingdom and the United States of America, and to address social, economic and political context influencing on ontology and normative notion of disability policies of those countries. Features of disability policies were mainly derived and collected from The Rehabilitation of Disabled Persons Act 1991 (B.E.2534) of Thailand, The Disability Discrimination Act 1995 (DDA) of UK and The Americans with Disability Act 1990 (ADA) of US and other documents regarding such disability policies which were available on internet as possible as finding out. Typology analysis and interpretation were administered on these particular data. The results revealed that the 4 similar features of disability policies of those countries were definition of disabilities, promotion of occupation/employment for PWDs, human right and dignity concern and governmental financial support. In contrast, the 4 different features of disability policies were attitudes towards PWDs, service orientations, law monitoring and punishment, intentionality of promotion of occupation/employment for PWDs and participation of PWDs as policy maker. Empowerment orientation, capitalism and human right movement shaped disability policies from philanthropic/charitable model to medical model and social model eventually. Although disability law/policy of UK and US was focused on empowerment and independent living as a social model, discrimination and stigma were still occurred and critical problem of PWDs. These events probably implied that quality of life of PWDs could not only be enhanced by law but also morality and consciousness of society or community.


คำสาคัญ: การเปรียบเทียบกฎหมาย, คนพิการของประเทศไทย, อังกฤษ, สหรัฐอเมริกา

วารสารฉบับเต็ม :ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม ภาพ icon เพื่อให้ทราบว่าเป็นไฟล์ PDF

menu-thai

* ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์ ในวารสารเป็นของผู้เขียนบทความ และมิได้แสดงว่า กองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยราชสุดาและ คณะผู้จัดทำเห็นด้วยทั้งหมด