Skip Content
ไทย / อังกฤษ

ขณะนี้คุณอยู่ที่ | หน้าแรก | ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑ | ดร.ปิยะรัตน์ นุชผ่องใส

วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ
ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม - มิถุนายน ประจำปี ๒๕๔๘


บทความวิจัย : บทบาทหน้าที่ของนักให้คำปรึกษา
ในงานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ

ผู้วิจัย : ดร.ปิยะรัตน์ นุชผ่องใส

E-mail : piyarat.nuc@mahidol.ac.th

บทคัดย่อ

ปัจจุบันการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการดำเนินการโดยนักวิชาชีพจากหลากหลายสาขา แต่ไม่มีนักให้คำปรึกษาในงานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการเข้าร่วมด้วย ซึ่งอาจเป็นเพราะผู้ที่ทำงานกับคนพิการยังไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของนักให้คำปรึกษาอย่างชัดเจน จึงได้สำรวจความคิดเห็นของผู้ที่ทำงานกับคนพิการเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของนักให้คำปรึกษาในงานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 56 คน จาก 28 หน่วยงาน ซึ่งตอบแบบสอบถามและส่งกลับคืน (35.89%) แบบสอบถามแบ่งเป็น 3 ข้อ ได้แก่ (1) การจัดลำดับความสำคัญของบทบาทนักให้คำปรึกษา (2) การให้คะแนนความสำคัญหน้าที่หรือกิจกรรมตามแต่ละบทบาท โดยคะแนน 7 มีความสำคัญมากที่สุด คะแนน 1 มีความสำคัญน้อยที่สุด (3) ลักษณะงานของนักให้คำปรึกษาที่ปฏิบัติ ซึ่งพบว่าผู้ที่ทำงานกับคนพิการให้ความสำคัญกับบทบาทการให้คำปรึกษามากที่สุด (55.56%) โดยเฉพาะการให้คำปรึกษาด้านการปรับตัว (5.67%) และผู้ที่ทำงานกับคนพิการสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มด้านการแพทย์ กลุ่มด้านการศึกษาและกลุ่มด้านสังคม แต่ละกลุ่มนอกจากทำงานตามบทบาทหน้าที่ของตนเองแล้ว ยังทำงานของนักให้คำปรึกษาด้วย (87.76%) แต่ลักษณะงานของนักให้คำปรึกษาที่ปฏิบัตินั้นแตกต่างกันตามวิชาชีพของตน จะเห็นได้ว่าผู้ที่ทำงานกับคนพิการมีความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่หลักของนักให้คำปรึกษาในงานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการและยังขาดผู้ที่ทำหน้าที่หลักในการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการตลอดกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพ

Abstract

Rehabilitation for Persons with disabilities has done by many fields of professional except rehabilitation counseling. It might be the roles and functions of rehabilitation counselor are not clear for individual who work with persons with disabilities (PWDs). The opinion of the individual who works with PWDs about the roles and functions of rehabilitation counselor is investigated. The fifty-five persons from twenty-eight organizations replied the questionnaire (35.56%) which compose of three items; (1) to rate the important roles of rehabilitation counselor (2) to weigh 1 to 7 score (7 is the most important) of the functions of those rehabilitation roles (3) to identify what activities they have done. The results showed that counseling is the most important role (55.56%) especially adjustment counseling (5.67%). There are three major group working with PWDs; medical, educational, and social groups. Each group has worked in the rehabilitation roles (87.76%) but different activities which depend on the professional field. This findings suggest that most of individuals who work with PWDs know the major roles and functions of rehabilitation counselor and there is no the main person who manage rehabilitation throughout the process.


คำสาคัญ: บทบาทหน้าที่, นักให้คำปรึกษา, งานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ

วารสารฉบับเต็ม :ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม ภาพ icon เพื่อให้ทราบว่าเป็นไฟล์ PDF

menu-thai

* ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์ ในวารสารเป็นของผู้เขียนบทความ และมิได้แสดงว่า กองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยราชสุดาและ คณะผู้จัดทำเห็นด้วยทั้งหมด