Skip Content
ไทย / อังกฤษ

ขณะนี้คุณอยู่ที่ | หน้าแรก | วารสารปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๑๓ | สุจินต์ สว่างศรี

วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ
วารสารปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๑๓


บทความวิจัย : การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่อง
ทางสติปัญญาในประเทศไทย

ผู้วิจัย : สุจินต์ สว่างศรี

E-mail : sujinlop@hotmail.com

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)ศึกษาสภาพการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาในประเทศไทย และ 2)พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่มีประสิทธิผลในประเทศไทย


การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ซึ่งประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จากการสัมมนากลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ และครูจาก 3 กลุ่มสถานศึกษาคือ ศูนย์การศึกษาพิเศษ โรงเรียนเฉพาะความพิการ และโรงเรียนเรียนร่วม จำนวน 45 คน เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อม หาข้อจำกัด ภัยคุกคาม และแนวทางการแก้ปัญหา สัมภาษณ์เชิงลึก (In – depth Interview) ผู้ทรงคุณวุฒิระดับนโยบาย จำนวน 8 คน และระดับปฏิบัติการ จำนวน 9 คน รวม 17 คน เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลและตรวจสอบความถูกต้อง เหมาะสม และเป็นไปได้ของรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญจากการสนทนากลุ่ม (Focus Group) จำนวน 9 คน การรวบรวมข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ได้แก่การสอบถามความคิดเห็น โดยใช้แบบสอบถามเพื่อสอบถามความเป็นไปได้ของรูปแบบจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นบุคลากรในศูนย์การศึกษาพิเศษ โรงเรียนเฉพาะความพิการ และโรงเรียนเรียนร่วม จำนวน 780 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของรูปแบบใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)


ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์สภาพปัจจุบันในการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาในประเทศไทยจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (Swot) ประกอบด้วยสภาพแวดล้อมภายในมีข้อจำกัด ด้านโครงสร้างและนโยบายด้านการให้บริการและคุณลักษณะของผู้เรียน ด้านบุคลากร ด้านการเงิน ด้านวัสดุอุปกรณ์ ด้านการบริหารจัดการ และสภาพแวดล้อมภายนอก ได้แก่ อุปสรรคด้านสังคมและวัฒนธรรมด้านเทคโนโลยี ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมืองและกฎหมาย ของสถานศึกษาทั้ง 3 รูปแบบ คือ ศูนย์การศึกษาพิเศษ โรงเรียนเฉพาะความพิการ และโรงเรียนเรียนร่วม ทำให้ไม่สามารถจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล


รูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาในประเทศไทย จัดในสถานศึกษา 3 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์การศึกษาพิเศษ โรงเรียนเฉพาะความพิการ และโรงเรียนเรียนร่วม องค์ประกอบของสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลในการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา มี 8 ด้าน 34 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) ความเป็นมืออาชีพ 7 ตัวชี้วัด 2) การมีวิสัยทัศน์ร่วม 4 ตัวชี้วัด 3) การคาดหวังต่อความสำเร็จของผู้เรียน 2 ตัวชี้วัด 4) ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้เรียน 5 ตัวชี้วัด 5) ด้านการจัดทำแผนการจัดการเรียนการสอน 3 ตัวชี้วัด 6) ด้านการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 2 ตัวชี้วัด 7) ด้านการให้บริการทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพ 8 ตัวชี้วัดและ 8) ด้านการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ 3 ตัวชี้วัด


ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่ารูปแบบมีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ มีความถูกต้องและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาในประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ


คำสาคัญ: บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา, การพัฒนา, รูปแบบการจัดการศึกษา, สถานศึกษาที่มีประสิทธิผล

วารสารฉบับเต็ม :ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม ภาพ icon เพื่อให้ทราบว่าเป็นไฟล์ PDF

menu-thai

* ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์ ในวารสารเป็นของผู้เขียนบทความ และมิได้แสดงว่า กองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยราชสุดาและ คณะผู้จัดทำเห็นด้วยทั้งหมด