Skip Content
ไทย / อังกฤษ

ขณะนี้คุณอยู่ที่ | หน้าแรก | วารสารปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๑๓ | สมชัย ตระการรุ่ง, นัทธี เชียงชะนา

วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ
วารสารปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๑๓


บทความวิจัย : เครื่องมือที่ใช้ประเมินผลในงานวิจัยทางดนตรีบำบัด: การวิเคราะห์เนื้อหา

ผู้วิจัย : สมชัย ตระการรุ่ง, นัทธี เชียงชะนา

E-mail : tsomchai@gmail.com และ natee.che@mahidol.ac.th

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาจากงานวิจัยทางดนตรีบำบัดในประเด็นเกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ประเมินผลสัมฤทธิ์ที่ได้รับจากการบำบัดด้วยดนตรี โดยผู้วิจัยทำการคัดเลือกงานวิจัยทางดนตรีบำบัดที่จัดทำขึ้นในประเทศไทยจากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย (TIAC) และฐานข้อมูลวิจัยของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ จนได้งานวิจัยที่ตรงตามเกณฑ์ในการคัดเลือกจำนวนทั้งหมด 65 เรื่อง ซึ่งเผยแพร่ในช่วงปี พ.ศ. 2528 – 2553 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกสาระด้านเครื่องมือที่ใช้ประเมินผลในงานวิจัยทางดนตรีบำบัด จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา โดยใช้สถิติเชิงบรรยาย เพื่อจำแนก และจัดหมวดหมู่สาระจากงานวิจัย


ผลการวิจัย พบว่า งานวิจัยส่วนใหญ่ใช้เครื่องมือประเภทแบบวัดความเครียด/ความวิตกกังวล และแบบประเมินความเจ็บปวด ในจำนวนที่เท่ากัน (ร้อยละ 20) โดยส่วนใหญ่ใช้เครื่องมือในลักษณะของมาตรประมาณค่า (ร้อยละ 70.8) เครื่องมือส่วนใหญ่ใช้ประเมินผู้ที่มีความบกพร่องทางอารมณ์และจิตใจมากที่สุด (ร้อยละ 47.7) โดยมีการหาคุณภาพของเครื่องมือด้านความเที่ยงแบบ Cronbach (ร้อยละ 41.5) และมีการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหามากที่สุด (ร้อยละ 29.2) ในด้านผลการวิเคราะห์ระยะของการประเมินพบว่า เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินส่วนใหญ่ใช้ในการประเมินก่อนและหลังการบำบัด (ร้อยละ 60) และใช้ประเมินเฉพาะหลังการบำบัด (ร้อยละ 21.5)


คำสาคัญ: เครื่องมือประเมินผล, งานวิจัย, ดนตรีบำบัด, การวิเคราะห์เนื้อหา

วารสารฉบับเต็ม :ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม ภาพ icon เพื่อให้ทราบว่าเป็นไฟล์ PDF

menu-thai

* ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์ ในวารสารเป็นของผู้เขียนบทความ และมิได้แสดงว่า กองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยราชสุดาและ คณะผู้จัดทำเห็นด้วยทั้งหมด