Skip Content
ไทย / อังกฤษ

ขณะนี้คุณอยู่ที่ | หน้าแรก | วารสารปีที่ ๑๔ | บทความวิจัยเรื่องที่ ๑

วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ
วารสารปีที่ ๑๔

บทความวิจัย : การพัฒนาสื่อการสอนองค์ประกอบศิลป์ เรื่องรูปร่างและรูปทรง สำหรับนักศึกษาหูหนวก
วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้วิจัย : นัทที ศรีถม1, รานี เสงี่ยม2, อารี ภาวสุทธิไพศิฐ3, จรรยา ชัยนาม4, พนิตา โพธิ์เย็น5

E-mail : 1srithom_tee@yahoo.com, 2raranee@hotmail.com
   3tg1532@hotmail.com, 4janya.cha@mahidol.ac.th,
   5amnarak_kom@hotmail.com

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อพัฒนาสื่อการสอนที่มีประสิทธิภาพในหัวข้อ องค์ประกอบศิลป์เรื่อง รูปร่างและรูปทรงสำหรับนักศึกษาหูหนวกวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล สื่อการสอนนี้เป็นโมเดลสามมิติที่ผู้เรียนเข้าถึงได้ด้วยการมองและการสัมผัส ผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นนักศึกษาหูหนวกจากภาควิชาหูหนวกศึกษา วิทยาลัยราชสุดาที่ไม่เคยลงทะเบียนเรียนรายวิชาที่เกี่ยวกับองค์ประกอบศิลป์มาก่อน มีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1การเลือกกลุ่มตัวอย่าง ขั้นตอนที่ 2 การสร้างเครื่องมือวิจัย ขั้นตอนที่ 3 การการเก็บข้อมูลวิจัย และขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูล


จากการศึกษาพบว่า การใช้สื่อการสอนแบบโมเดล 3 มิติ ช่วยให้การสื่อสารระหว่างผู้เรียนและผู้สอน มีประสิทธิภาพมากขึ้น สื่อนี้ช่วยให้นักศึกษาหูหนวกเข้าใจลักษณะของรูปทรง (รูปทรงเรขาคณิต รูปทรงธรรมชาติ และรูปทรงอิสระ) ที่ประกอบด้วย ความกว้าง ความยาว และความสูง โดยผู้วิจัยออกแบบให้สามารถนำรูปทรงนี้ ไปใส่ในแม่พิมพ์ได้ เมื่อสังเกตรูปทรงที่อยู่ในแม่พิมพ์ ผู้เรียนจะมองเห็นแค่ความกว้างและความยาวซึ่งเป็นลักษณะ ของรูปร่าง เมื่อผู้เรียนได้เรียนรู้และเข้าใจความแตกต่างนี้ จะสามารถเข้าใจหลักการขององค์ประกอบศิลป์ได้ในที่สุด


คะแนนสอบก่อนและหลังเรียนแสดงให้เห็นว่า ภายหลังการใช้สื่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหูหนวก เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95% กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อสื่อการสอนในระดับมาก ที่สุดในด้านความหลากหลายและความสอดคล้องกับเนื้อหาในบทเรียน


คำสาคัญ: สื่อการสอน, องค์ประกอบศิลป์, รูปร่างและรูปทรง, นักศึกษาหูหนวก


บทความวิจัยเรื่องที่ ๑ :ดาวน์โหลดบทความวิจัยเรื่องที่ ๑ภาพ icon เพื่อให้ทราบว่าเป็นไฟล์ PDF

menu-thai

* ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์ ในวารสารเป็นของผู้เขียนบทความ และมิได้แสดงว่า กองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยราชสุดาและ คณะผู้จัดทำเห็นด้วยทั้งหมด