Skip Content
ไทย / อังกฤษ

ขณะนี้คุณอยู่ที่ | หน้าแรก | วารสารปีที่ ๑๕ | บทความวิจัยเรื่องที่ ๒

วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ
วารสารปีที่ ๑๕ ฉบับที่ ๑ มกราคม - มิถุนายน ๒๕๖๒

บทความวิจัย : การพัฒนารูปแบบความร่วมมือของผู้ปกครองเพื่อจัดการเรียนรู้ต่อความฉลาดทางอารมณ์
และ ผลทางการเรียนของนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

ผู้วิจัย : สายสุดา ปั้นตระกูล1, สุมาลี จันทร์ชลอ2

E-mail : 1saisuda_pan@dusit.ac.th

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะทางกายภาพ ความฉลาดทางอารมณ์ และผลทางการเรียนของนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในระดับอุดมศึกษา 2) พัฒนารูปแบบความร่วมมือของผู้ปกครองในการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน และ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบความร่วมมือของผู้ปกครองในการจัดการเรียนการสอนต่อความฉลาดทางอารมณ์และผลทางการเรียนของนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ระยะแรกเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินระดับปริญญาตรี จำนวน 207 คน ระยะที่สองเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกนักวิชาการและผู้ปกครอง จำนวน 17 คน เพื่อหารูปแบบที่เหมาะสม และระยะที่สามเป็นการทดลองใช้รูปแบบความร่วมมือของผู้ปกครองในการจัดการเรียนการสอนกับผู้ปกครองและนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน จำนวน 10 คน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างที่มีความบกพร่องทางการได้ยินมีความเห็นว่าปัจจัยด้านบริบทของครอบครัวมีผลต่อการเรียนรู้สูงสุด รองลงมาคือด้านสถานศึกษาและด้านความช่วยเหลือตามลำดับ ความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในระดับปกติ 5 ด้าน และต่ำกว่าเกณฑ์ 4 ด้าน คือ ด้านเห็นใจผู้อื่น ความรับผิดชอบ สัมพันธภาพและความพอใจชีวิต 2) ผลการพัฒนารูปแบบความร่วมมือของผู้ปกครองในการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินได้รูปแบบประกอบด้วย 4 มิติ คือ ความร่วมมือของกลุ่มบุคคล สัดส่วนและวิธีการสื่อสารเพื่อส่งเสริมและแสวงหาความรู้ เนื้อหาสาระที่จะนำมาเพื่อสร้างความร่วมมือ และปัจจัยสนับสนุนการสร้างเครือข่าย 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบความร่วมมือ พบว่า ผู้ปกครองของนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินมีการติดต่อสื่อสารระหว่างภายในกลุ่ม ความสามารถและพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครองเพิ่มขึ้นทุกด้าน นักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินมีระดับความฉลาดทางอารมณ์ด้านการมีแรงจูงใจเพิ่มขึ้นและมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศเพิ่มขึ้น


คำสำคัญ: ความฉลาดทางอารมณ์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ผู้ปกครอง, นักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน,
รูปแบบความร่วมมือ


บทความวิจัยเรื่องที่ 2 :ดาวน์โหลดบทความวิจัยเรื่องที่ 2ภาพ icon เพื่อให้ทราบว่าเป็นไฟล์ PDF

menu-thai

* ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์ ในวารสารเป็นของผู้เขียนบทความ และมิได้แสดงว่า กองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยราชสุดาและ คณะผู้จัดทำเห็นด้วยทั้งหมด