Skip Content
ไทย / อังกฤษ

ขณะนี้คุณอยู่ที่ | หน้าแรก | วารสารปีที่ ๑๕ | บทความวิชาการเรื่องที่ ๑

วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ
วารสารปีที่ ๑๕ ฉบับที่ ๑ มกราคม - มิถุนายน ๒๕๖๒

บทความวิชาการ : กระบวนการใช้ตัวแบบในการสร้างสื่อส่งเสริมความตระหนักรู้ในอาชีพเพื่อคนพิการ
     ทางการเห็น

ผู้วิจัย : ปริณุต ไชยนิชย์1, ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ2

E-mail : 1parinut23@gmail.com, 2praweenya@gmail.com

บทคัดย่อ

กระบวนการใช้ตัวแบบในการสร้างสื่อส่งเสริมความตระหนักรู้ในอาชีพเพื่อคนพิการทางการเห็นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอกระบวนการใช้ตัวแบบในการสร้างสื่อส่งเสริมความตระหนักรู้ในอาชีพสำหรับคนพิการทางการเห็นเป็นเรื่องที่สังคมควรให้ความสนใจและร่วมกันผลิตสื่อเพื่อช่วยกระตุ้นความตระหนักรู้ในอาชีพให้กับคนพิการทางการเห็นด้วยกลยุทธ์จาก 1) ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญาของแบนดูรา 2) กระบวนการเสนอตัวแบบ (Modeling Procedures) 3) กลยุทธ์ที่ใช้ส่งเสริมความตระหนักรู้ในอาชีพ 4) เครื่องมือในการพัฒนาสื่อสร้างความตระหนักรู้ในอาชีพด้วยการใช้ตัวแบบสำหรับคนพิการทางการเห็น ทั้ง 4 ขั้นตอนนี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดกลไกที่ยังประโยชน์สู่คนพิการทางการเห็นได้มีแรงบันดาลใจที่จะเลือกอาชีพ ความเชื่อในศักยภาพนั้นจะช่วยเพิ่มแรงอัดฉีดให้กับความฝันของคนพิการทางการเห็น โดยเริ่มที่ขั้นแรกเน้นให้คนพิการทางการเห็นรับฟังเรื่องราวของตัวแบบจากการตอบคำถามประกอบการสัมภาษณ์ข้อมูลจากตัวแบบ ขั้นที่สองใช้คำถามสัมภาษณ์เพื่อให้เกิดคำตอบที่สร้างแรงบันดาลใจและเปลี่ยนทัศนคติจากการรับฟังประสบการณ์ของตัวแบบที่มีความพิการทางการเห็นเหมือนกัน หลักของการกำหนดบุคคลตัวแบบในการจะใช้ตัวแบบจึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ข้อควรระวังคือการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการสร้างสมาธิระหว่างการรับสื่อด้วย ควรเป็นห้องเงียบ ไม่มีสิ่งดึงดูดการรับฟังอื่น เพื่อประสิทธิภาพในการสร้างความตระหนักรู้ในอาชีพ


คำสำคัญ: ความตระหนักรู้ในอาชีพ, การใช้ตัวแบบ, แนะแนวอาชีพ, คนพิการทางการเห็น


บทความวิชาการเรื่องที่ 1 :ดาวน์โหลดบทความวิชาการเรื่องที่ 1ภาพ icon เพื่อให้ทราบว่าเป็นไฟล์ PDF

menu-thai

* ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์ ในวารสารเป็นของผู้เขียนบทความ และมิได้แสดงว่า กองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยราชสุดาและ คณะผู้จัดทำเห็นด้วยทั้งหมด