Skip Content
ไทย / อังกฤษ

ขณะนี้คุณอยู่ที่ | หน้าแรก | ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑ | น้อมจิตต์ นวลเนตร์ และ สิริรักษ์ ภาภิรมย์

วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ
ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑ มกราคม - มิถุนายน ประจำปี ๒๕๔๙


บทความวิจัย : การสำรวจสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการในเขตเมืองขอนแก่น

ผู้วิจัย : น้อมจิตต์ นวลเนตร์ และ สิริรักษ์ ภาภิรมย์

E-mail : nomjit@kku.ac.th และ siriruk_ting@yahoo.com

บทคัดย่อ

คนพิการเป็นกลุ่มคนที่ขาดโอกาสหลายประการสำหรับการดำรงชีวิตในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดแคลนสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับชีวิตประจำวัน การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจำนวนและลักษณะของการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการในสถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน ในเขตเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น จำนวน 270 แห่ง จากผลการวิจัยพบว่าไม่มีสถานที่ใดเลยที่มีลิฟท์ ห้องน้ำ สถานที่จอดรถ ป้ายประกาศ สถานที่ติดต่อสอบถาม โทรศัพท์สาธารณะ และตู้ไปรษณีย์ ที่ถูกต้องตามมาตรฐานการจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมกำหนด ซึ่งแม้จะมีสถานที่บางแห่งได้จัดสิ่งอำนวยความสะดวกไว้สำหรับคนพิการ แต่ส่วนใหญ่ยังไม่ถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด สรุปว่าการจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการในเขตเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ยังมีน้อยมากและไม่เพียงพอต่อความต้องการของคนพิการ ดังนั้น ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายควรร่วมกันสร้างทัศนคติที่ถูกต้องต่อคนพิการและร่วมมือกันจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกที่ได้มาตรฐานสำหรับคนพิการให้มีมากขึ้นและทั่วถึงยิ่งขึ้น เพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีแก่คนพิการต่อไป

Abstract

Disabled persons always have less opportunity in social life, especially, lack of facilities for daily livings. A survey study was conducted with the aim to evaluate number and appearance state of facilities for disabled persons on 270 places, including government sectors, state enterprises and private sectors, in Khon Kaen's urban area, Khon Kaen province. The results showed that no places surveyed in this study provided escalators, toilets, car parks, signboards, information counters, public telephones and letter boxes which met a national standard for disabled persons. In addition, although some places provided facilities for disabled persons, most of them did not meet the standard. It was concluded that standard facilities for disabled persons in Khon Kaen's urban area were not enough for the requirement of them. Thus, people who are responsible in social welfare of this issue should have a positive attitude towards disabled persons and work together for the provision of standard facilities in order to promote a good quality of life for disabled persons.


คำสาคัญ: สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ, เมืองขอนแก่น

วารสารฉบับเต็ม :ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม ภาพ icon เพื่อให้ทราบว่าเป็นไฟล์ PDF

menu-thai

* ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์ ในวารสารเป็นของผู้เขียนบทความ และมิได้แสดงว่า กองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยราชสุดาและ คณะผู้จัดทำเห็นด้วยทั้งหมด