Skip Content
ไทย / อังกฤษ

ขณะนี้คุณอยู่ที่ | หน้าแรก | ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๑-๒ | แพรว เอี่ยมน้อย

วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๑ - ๒ มกราคม / กรกฎาคม
ฉบับพิเศษ ประจำปี ๒๕๕๐


บทความวิจัย : การสนับสนุนทางสังคมของผู้พิการทางร่างกายในจังหวัดนครปฐม

ผู้วิจัย : แพรว เอี่ยมน้อย

E-mail : praewe@yahoo.com

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจเพื่อศึกษาการได้รับการสนับสนุนทางสังคมในการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการของผู้พิการทางร่างกายในจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้พิการทางร่างกายที่ได้รับการจดทะเบียนคนพิการ พ.ศ.2545–2547 จากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดนครปฐม เก็บข้อมูลจากผู้พิการตัวอย่างได้จำนวน 103 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์การสนับสนุนทางสังคมของผู้พิการทางร่างกาย และวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา และสถิติวิเคราะห์ ได้แก่ สถิติทดสอบที (t-test)


ผลการวิจัยพบว่า 1) การสนับสนุนทางสังคมในการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการอยู่ในระดับน้อย เมื่อจำแนกตามการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพพบว่า การสนับสนุนด้านการแพทย์อยู่ในระดับปานกลาง ด้านการศึกษา ด้านอาชีพและด้านสังคมอยู่ในระดับน้อย 2) ผู้พิการทางร่างกายได้รับการสนับสนุนในรูปแบบของจิตใจมากกว่ารูปแบบอื่นๆ 3) ผู้พิการทางร่างกายได้รับการสนับสนุนจากแหล่งสนับสนุนทางสังคมที่มาจากกลุ่มที่มีความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการมากกว่ากลุ่มที่มีความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ และ 4) จากการใช้สถิติทดสอบที (t-test) พบว่า ผู้พิการทางร่างกายที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและนอกเขตเมืองได้รับการสนับสนุนทางสังคมในการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Abstract

The purpose of this study was to examine the social support of persons with physical disabilities in the Nakhonpathom provice. Data was gathered from a sample group of 103 persons with physical disabilities registered with the Provincial Office of Social Development and Human Security, Nakhonpathom provice from 2002-2004, by using questionnaires, descriptive statistics, and statistical hypothesis tests.


The study found that:1) person with physical disabilities received moderate social support for medical rehabilitation, and low social support for educational, vocational, and social rehabilitation; 2) there was more emotional support than informational and tangible support; 3) there was more social support from the private sector than from the government; 4) using the t-test, no significant difference (0.05 significant level) in social support was found between persons living in urban and rural ares.


คำสาคัญ: การสนับสนุนทางสังคม, ผู้พิการ, จังหวัดนครปฐม

วารสารฉบับเต็ม :ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม ภาพ icon เพื่อให้ทราบว่าเป็นไฟล์ PDF

menu-thai

* ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์ ในวารสารเป็นของผู้เขียนบทความ และมิได้แสดงว่า กองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยราชสุดาและ คณะผู้จัดทำเห็นด้วยทั้งหมด