Skip Content
ไทย / อังกฤษ

ขณะนี้คุณอยู่ที่ | หน้าแรก | ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๑ - ๒ | ชนานันท์ โพธิ์ขวาง

วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ
ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๑ - ๒ มกราคม / มิถุนายน ๒๕๕๓


บทความวิจัย : การศึกษาเปรียบเทียบการสอนการดูแลตอขาของคนพิการขาขาดระหว่าง
การสอนโดยพยาบาลกับการสอนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์

ผู้วิจัย : ชนานันท์ โพธิ์ขวาง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบผลคะแนนความรู้ การปฏิบัติ และความพึงพอใจ เรื่องการดูแลตอขาของคนพิการขาขาดระดับใต้เข่าระหว่างการสอนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์กับการสอนโดยพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นคนพิการขาขาดระดับใต้เข่า อายุ 20-60 ปี ซึ่งมารับการรักษาและการทำขาเทียมที่แผนกกายอุปกรณ์ โรงพยาบาลศิริราช จำนวน 60 คน แบ่ง ออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน ด้วยวิธีจำเพาะเจาะจง กลุ่มที่ 1 คือกลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ กลุ่มที่ 2 คือกลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนโดยพยาบาล ทั้งสองกลุ่มทำแบบสอบถามชุดเดียวกัน ก่อนสอนและหลังสอนทันที แล้วนำผลคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยเปรียบเทียบผลคะแนนความรู้ การปฏิบัติ ด้วยการทดสอบค่า t - test และเปรียบเทียบความพึงพอใจด้วยการทดสอบ chi-square test


ผลการศึกษาการเปรียบเทียบผลคะแนนความรู้และการปฏิบัติ เรื่องการดูแลตอขาระหว่างการสอนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์และการสอนโดยพยาบาล พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และการเปรียบเทียบความพึงพอใจ พบว่าพึงพอใจการสอนโดยพยาบาลมากกว่าการสอนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ( P = 0.03 < 0.05 ) เนื่องจากคนพิการที่สูญเสียขาส่วนใหญ่ เครียด วิตกกังวล ท้อแท้สิ้นหวัง มีอุปสรรคต่อการรับรู้ การปรับตัว และการดูแลตนเอง เมื่อได้รับการสอนโดยพยาบาลเป็นผู้ให้ความรู้ และรับรู้ถึงปัญหา การให้คำแนะนำ และกำลังใจที่ดี ทำให้คนพิการมีความพึงพอใจ สามารถปรับตัวทางจิตสังคมได้ดี ส่วนวีดิทัศน์เป็นสื่อทางเดียวที่ไม่มีโอกาสโต้ตอบ ซักถามปัญหาหรือข้อข้องใจได้ ดังนั้น การนำสื่อไปใช้ควรพิจารณาตามความเหมาะสมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับคนพิการ

Abstract

The purpose of this studywas to compare knowledge, practice, and satisfaction of subjects receiving an instructional program on stump care for lower extremity amputees between a nurse's teaching method and an instructional video. Subjects were 60 lower extremity amputees between 20-60 years old receiving stump care and prosthetic legs at the Prosthetic Department, Siriraj Hospital. The subjects were purposively divided into two groups, with 30 subjects in each. The experimental group watched an instructional video, whereas the control group received a nurse's teaching method. Pre - and post-tests were administered using the same questionnaire for assessing the subjects' knowledge, practice, and satisfaction level. These tests were conducted right after the teaching was completed. Percentages, means, and standard deviations were computed and analyzed for the score distributions. A t-test was used to compare the knowledge and practice scores of the two groups, and a chi-square test was used to compare the teaching satisfaction scores of the two groups.


The results of the study revealed that there were no significant differences between knowledge and practice on stump care for lower extremity amputees that received information from a nurse's teaching method and from an instructional video (p < 0.05). However, the group that received information from the nurse's teaching method had a higher satisfaction level than the group watching the instructional video (p < 0.05). The satisfaction score may be different due to the fact that many lower extremity amputees had stress, anxiety, and hopelessness that impeded their learning, adaptation, and self-care. As a result, when they received prosthetic care and rehabilitation instruction from nurses who provided not only the prosthetic care but also mental support, they felt satisfied with the teaching and care and they could adjust socially and mentally. In contrast to the nurse's teaching, the video was a one-way communication method and subjects could not ask about or consult on their problems when they wanted to discuss them or get further clarification. Therefore, subjects receiving video instruction may be deficient inunderstanding and adapting socially and mentally toward their lives as lower extremity amputees.

Accordingly,the results of this study suggested that teaching materials or instructional technology should be used with all groups of amputees for the ultimate benefit. Additionally, the nurse's teaching method and video should be combined for better outcomes. Further studies should be expanded to include other populations.


คำสาคัญ: คนพิการขาขาดระดับใต้เข่า/ การสอนโดยพยาบาล/ สื่อวีดิทัศน์การสอน
Lower Extremity Amputees / Nurse Teaching Method / Instructional Video Program

วารสารฉบับเต็ม :ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม ภาพ icon เพื่อให้ทราบว่าเป็นไฟล์ PDF

menu-thai

* ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์ ในวารสารเป็นของผู้เขียนบทความ และมิได้แสดงว่า กองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยราชสุดาและ คณะผู้จัดทำเห็นด้วยทั้งหมด