Skip Content
ไทย / อังกฤษ

ขณะนี้คุณอยู่ที่ | หน้าแรก | ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๑ - ๒ | นัดดา รีชีวะ

วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ
ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๑ - ๒ มกราคม / มิถุนายน ๒๕๕๓


บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการนำเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก
ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ของผู้ป่วยภายหลังจากการฟื้นฟูสภาพจากสถาบันตติยภูมิ

ผู้วิจัย : นัดดา รีชีวะ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ วัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจสภาพการได้รับบริการเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกจากงานฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ของผู้ป่วยพิการทางด้านร่างกายและการเคลื่อนไหวภายหลังจากการฟื้นฟูสมรรถภาพ 2) สำรวจการนำเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์และ 3) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้หรือไม่ใช้ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ผู้ป่วยพิการทางด้านร่างกายและการเคลื่อนไหวที่มารับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ที่แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูโรงพยาบาลรามาธิบดีและศูนย์ สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูทางการแพทย์แห่งชาติ ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน พ.ศ. 2550 จำนวน 115 ราย โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน ส่วนเบี่ยงเบน ควอร์ไทล์และสถิติทดสอบไคว์สแควร์


ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยพิการส่วนใหญ่ ได้รับอุปกรณ์คนละ 1-2 รายการ ที่พบบ่อยที่สุดคือ รถนั่งคนพิการ ไม้เท้า ขาเทียมและเครื่องช่วยเดินสี่ขาซึ่งส่วนใหญ่ได้รับฟรีจากโรงพยาบาล แต่ยังมีบางส่วนที่ต้องเสียเงินซื้อเอง ผู้ที่ได้รับรถนั่งคนพิการบางส่วนได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับคุณสมบัติทั่วไปของอุปกรณ์ และการฝึกทดลองใช้แต่ไม่เพียงพอ ส่วนคำแนะนำในเรื่องการปรับสภาพแวดล้อมหรือบ้านพบว่าผู้ป่วยพิการทุกคนยังได้รับไม่เพียงพอ อุปกรณ์ช่วยดึงข้อเท้า อุปกรณ์ช่วยพยุงหัวไหล่ รถเข็นแบบนั่งกับพื้นถูกนำไปใช้อย่างเต็มที่ ขาเทียมไม้เท้าและอุปกรณ์ช่วยพยุงมือ พบว่ามีผู้นำไปใช้มากเช่นกัน ในขณะที่เครื่องช่วยเดินสี่ขาและอุปกรณ์ช่วยพยุงลำตัว ถูกนำไปใช้น้อยมาก ส่วนอุปกรณ์ช่วยยึดตัวกับรถนั่งคนพิการและเหล็กประกับขาถูกละทิ้งหรือไม่ใช้เลย ปัจจัยทางด้านอายุ ความพึงพอใจกับผลการใช้ การฝึกทดลองใช้ ความยากง่ายในการใช้ ความรู้สึกขณะใช้ ความสวยงาม ขนาดและน้ำหนักของอุปกรณ์ มีความสัมพันธ์กับการนำรถนั่งคนพิการไปใช้ ส่วนไม้เท้าพบว่าปัจจัยเรื่องเพศเพียงอย่างเดียวที่มีความสัมพันธ์กับการใช้ ดังนั้น ในการให้บริการเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกควรพิจารณาในเรื่อง การให้คำแนะนำ การฝึกทดลองใช้ ความยากง่ายในการใช้ ความสวยงาม ขนาดและน้ำหนักของอุปกรณ์ให้พอดีและสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ทั้งนี้เพื่อการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และสามารถช่วยเหลือตนเองได้อย่างสูงสุด

Abstract

The purposes of this studywere - to explore situations in patients with physical disabilities who received Assistive Technology; the utilization of this technology; and factors associated with the utilization. The study was conducted by interviewing a group of 115 patients with physical disabilities who were involved in the rehabilitation process at Ramathibodee Hospital and Sirindhorn National Medical Rehabilitation Center. Data were collected from July to September, 2007 by systematic sampling and by interviewing. Data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, median, quartile deviation and chi-square test. The results indicated that patients with physical disabilities received 1-2 devices. Wheelchairs, canes, lower limp prostheses and walkers were often received. Lower limp prostheses and canes were used the most, whereas walkers and wheelchairs were rarely used. A lack of need, dissatisfaction and environmental barriers were reasons for non-use. Activity of Daily Living aids, transfer aids, transport aids, recreation aids, seating and positioning aids and home modification were increasingly required, including repairing and maintenance services.


Factors associated with wheelchair use or non-use were age, satisfaction, training, ease of use, feeling while being use, aesthetics, size and weight. For cane users only gender was an associated factor.


Suggestions concerning the gender, age, satisfaction, training, ease of use, feeling while use, aesthetics, size and weight, should be considered in assistive technology services.


คำสาคัญ: เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก/ ผู้ป่วยพิการทางด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว/การนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์
Assistive Technology/ Physical Disability/ Utilization.

วารสารฉบับเต็ม :ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม ภาพ icon เพื่อให้ทราบว่าเป็นไฟล์ PDF

menu-thai

* ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์ ในวารสารเป็นของผู้เขียนบทความ และมิได้แสดงว่า กองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยราชสุดาและ คณะผู้จัดทำเห็นด้วยทั้งหมด