Skip Content
ไทย / อังกฤษ

ขณะนี้คุณอยู่ที่ | หน้าแรก | ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๑ มกราคม / มิถุนายน ๒๕๕๓ | อุบลรัตน์ นำนาผล

วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ
ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๑ มกราคม / มิถุนายน ๒๕๕๓


บทความวิจัย : พ่อแม่คือครู….บ้านหนูเป็นห้องเรียน: การพัฒนารูปแบบการช่วยเหลือผู้ปกครอง
เด็กพิการรุนแรงให้จัดการศึกษาในครอบครัว

ผู้วิจัย : อุบลรัตน์ นำนาผล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาศักยภาพผู้ปกครองของเด็กพิการรุนแรงโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว และเพื่อให้ครอบครัวมีเจตคติที่ดี มีความตระหนักต่อการดูแลช่วยเหลือคนพิการ ครอบครัวของเด็กพิการจะต้องประกอบด้วยพ่อแม่ที่มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะและสามารถจัดสภาพแวดล้อมที่ดีและเอื้อต่อการฝึกเด็กพิการรุนแรงให้มีพัฒนาการด้านต่างๆที่ดีขึ้นโดยใช้เครื่องมือเป็นชุดฝึกทักษะที่ผู้วิจัยและครอบครัวร่วมกันสร้างขึ้น ได้แก่ รถฝึกนั่ง กระดานฝึกยืน เก้าอี้ทรงตัว รถฝึกเดินราวคู่ และไม้กระดก การเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้แบบสังเกตพัฒนาการ แบบประเมินจุดประสงค์ และแบบสังเกตพฤติกรรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และนำผลมาเปรียบเทียบ พัฒนาการก่อน-หลังใช้เครื่องมือ การนำเสนอข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า หลังจากการใช้เครื่องมือ เด็กพิการระดับรุนแรงสามารถนั่งทรงตัว บนพื้นราบได้ ยืนทรงตัวได้ เดินข้ามรั้วกั้น เดินจับราวไม้ได้ มีการแสดงออกทางอารมณ์ รับรู้และสื่อความหมายได้มากขึ้น โดยจะต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างครู ผู้ปกครอง และชุมชน ทำให้ผู้ปกครองมีกำลังใจในการฝึกอย่างต่อเนื่อง

Abstract

This research aimed to study the facilitative learning process development for disabled children at home by enhance the parent's participation and to enhance the good attitude and awareness of disabled children's parents. Disabled children's parents should have good knowledge, skills, understanding and environment to facilitative develop supplementary toys as a skilled improvement tools, which were invented by the researcher and cooperative with parents such as armchair, standing plate, push chair, parallel bar, and horse rider. During this study, data and disabled children' behaviors were collect and observe via performance observation form, objective evaluation form, and behavior observation form which were created by the researcher. In data analysis, statistics consist of percentage by compare pre-test and post-test were analyzed. The research found that the development of disabled children result such as they can sit on ground, balance standing, and walk across parallel bar. Moreover, they can express their feeling and emotion, and effective interact and communication with parents. The main success factor is the good cooperation from parents, teachers, and community. Finally, this can encourage parent to practice their children continually


คำสาคัญ: พ่อแม่ การเรียนที่บ้าน เด็กพิการรุนแรง
Parents, School at home, Severe Disabled Children

วารสารฉบับเต็ม :ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม ภาพ icon เพื่อให้ทราบว่าเป็นไฟล์ PDF

menu-thai

* ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์ ในวารสารเป็นของผู้เขียนบทความ และมิได้แสดงว่า กองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยราชสุดาและ คณะผู้จัดทำเห็นด้วยทั้งหมด