Skip Content
ไทย / อังกฤษ

ขณะนี้คุณอยู่ที่ | หน้าแรก | ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๑ มกราคม / มิถุนายน ๒๕๕๓ | ไวยวุฒิ วุฒิอรรถสาร,วสันต์ สอนเขียว

วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ
ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๑ มกราคม / มิถุนายน ๒๕๕๓


บทความวิจัย : ลักษณะของคำบรรยายอักษรภาษาไทย (Thai Language Caption) ที่เหมาะสม
ในภาพยนตร์เพื่อการศึกษาสำหรับผู้พิการทางการได้ยิน

ผู้วิจัย : ไวยวุฒิ วุฒิอรรถสาร,วสันต์ สอนเขียว

บทคัดย่อ

การจัดการศึกษาให้แก่คนหูหนวกหรือผู้พิการทางการได้ยิน โดยการสอนในโรงเรียนโสตศึกษา หรือจัดให้เรียนร่วมกับคนปกติ เป็นการสอนที่มีลักษณะพิเศษจำเป็นต้องใช้สื่อเพื่อช่วยในการเรียนการสอน สื่อภาพยนตร์เป็นสื่อที่มีความเหมาะสมสำหรับกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างดี เนื่องจากสามารถกระตุ้นความรู้สึกของคนดูแต่ละคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยนี้มุ่งหาคำตอบที่เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาสื่อภาพยนตร์เพื่อสร้างการเรียนรู้แก่คนหูหนวกให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่มีความพิการทางการได้ยิน จากวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ15 คน และนักศึกษาระดับอาชีวะศึกษาในแผนกการพิมพ์ โรงเรียนดอนบอสโก ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) จำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ15 คน ชมภาพยนตร์เพื่อการศึกษาที่มีการจัดกระทำ (treatment) แล้ววิเคราะห์ผลการศึกษาจากการสังเกตพฤติกรรมระหว่างการชมภาพยนตร์ร่วมกับผลคะแนนจากแบบทดสอบการรับรู้และความเข้าใจในเนื้อหาภาพยนตร์ ผลการวิจัย พบว่าคนหูหนวกที่เป็นนักศึกษาที่มีความพิการทางการได้ยินในระดับอาชีวศึกษาและระดับอุดมศึกษา สามารถรับรู้ภาพยนตร์ที่มีการใช้คำบรรยายได้ดีขึ้นเมื่อชมภาพยนตร์เพื่อการศึกษาที่มีคำบรรยายที่เหมาะสม

Abstract

This research is to study a type of the Thai language caption which affects the deaf's perception of the Educational Film and to produce the Educational Film with Thai language caption for the deaf student. The quasi experiment is applied by using group post - test only designs method. This sample is divided into two groups. The controlled group, 15 students, is designed to watch the movie with ordinary caption. The experimental group, 15 students, is designed to watch the movie with Thai language caption. The data was collected from the deaf students by 30 vocational deaf students and 30 higher deaf students. The result is collected immediately after watching of the movie. Means of percentage, frequency, Independent Sample T - test is used to analysis the data.

Both vocational deaf students and higher deaf students have within - group different perception of the movie with ordinary caption and Thai language caption prototype. Both vocational students and higher students have better within - group perception of the movie with Thai language caption prototype than the movie with ordinary caption. Vocational deaf students and higher deaf students have different perception of the movie with ordinary caption and prototype caption : the vocational deaf students have no different perception of the movie with ordinary caption from the prototype's one and the higher deaf students have perception of the movie with Thai language caption prototype better than the ordinary's one. The higher deaf students have better perception of the movie with ordinary caption than the vocational deaf students' one. The higher deaf students have better perception of the movie with Thai language caption prototype than the vocational deaf students' one. In conclusion, the deaf students have better perception when the movie use editing caption. Hereby, according to the study, the movie with Thai language caption prototype is suitable most for the deaf.


คำสาคัญ: คำบรรยายใต้ภาพ ภาพยนตร์เพื่อการศึกษา หูหนวก
Caption, Educational Film, Movie, Deaf

วารสารฉบับเต็ม :ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม ภาพ icon เพื่อให้ทราบว่าเป็นไฟล์ PDF

menu-thai

* ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์ ในวารสารเป็นของผู้เขียนบทความ และมิได้แสดงว่า กองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยราชสุดาและ คณะผู้จัดทำเห็นด้วยทั้งหมด