Skip Content
ไทย / อังกฤษ

ขณะนี้คุณอยู่ที่ | หน้าแรก | ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๑ มกราคม / มิถุนายน ๒๕๕๓ | ภัคธีมา เที่ยงตรง

วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ
ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๑ มกราคม / มิถุนายน ๒๕๕๓


บทความวิจัย : ประสิทธิผลในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฝึกพิมพ์ดีดสัมผัสสำหรับคนพิการ

ผู้วิจัย : ภัคธีมา เที่ยงตรง

E-mail : guzkung@hotmail.com

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) แบบมีกลุ่มควบคุม และเปรียบเทียบหลังการฝึกเพียงอย่างเดียว (Posttest-only control Group Design) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะในการพิมพ์ดีดสัมผัสภาษาไทยของนักเรียนตาบอดที่ใช้วิธีการฝึกด้วยโปรแกรมฝึกพิมพ์ดีดสำหรับผู้พิการทางตากับการใช้วิธีการฝึกด้วยวิธีปกติ (โดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ดกับโปรแกรมอ่านจอภาพ) และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนตาบอดที่มีต่อโปรแกรมฝึกพิมพ์ดีดสำหรับผู้พิการทางตา โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนตาบอดที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพจำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 15 คน และกลุ่มทดลอง 15 คน ใช้วิธีการสุ่มและเลือกตัวอย่างแบบการจับคู่ (Matching Case) วิเคราะห์ผลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test แบบ (Independent sample t-test)


ผลการศึกษาพบว่า ทักษะในการพิมพ์ดีดสัมผัสภาษาไทยของนักเรียนตาบอดทั้ง 2 กลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยนักเรียนตาบอดที่ใช้วิธีการฝึกด้วยโปรแกรมฝึกพิมพ์ดีดสำหรับผู้พิการทางตามีทักษะในการพิมพ์ดีดสัมผัสภาษาไทยสูงกว่านักเรียนตาบอดที่ใช้วิธีการฝึกด้วยวิธีปกติ และความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมฝึกพิมพ์ดีดสำหรับผู้พิการทางตาของนักเรียน ตาบอดกลุ่มทดลอง โดยภาพรวมความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.21 คำแนะนำของการศึกษานี้ สำหรับนักเรียนตาบอดในการใช้โปรแกรมฝึกพิมพ์ดีดสำหรับผู้พิการทางตา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการพิมพ์ดีดสัมผัสภาษาไทยให้ดีขึ้น

Abstract

This research was quasi experimental research with a control group using a posttest-only control group design. The purpose was to compare the touch typing skills in the Thai language of blind students before and after training using Typing Training Software for the Blind compared with using a regular method of practicing on Microsoft Word with a Screen Reader. The satisfaction level of blind students using the Typing Training Software for the Blind was also collected. The sample consisted of 30 blind students at the Bangkok School for the Blind, from grades 6 to 9. Data were collected during the first semester of the 2009 academic year. The sample was divided into 2 groups: a control group of 15 students and an experimental group of 15 students. Random assignment was used to select the sample and matched cases to controls by the level of visual impairment. Statistics used in this research were frequency, percentage, average, standardized variables and the independent sample t-test.


The resultsshow that the touch typing skill of blind students in the Thai language in both groups improved significantly at p < 0.05. Blind students who used the Typing Training Software for the Blind acquired a higher level of touch typing skill than the students who practiced with the regular method. Also, the overall satisfaction level of the experimental group that used the Typing Training Software for the Blind was at a high level with an average value of 4.21. The recommendation of this study is for blind students to use the special Typing Training Software for the Blind in order to most efficiently improve their Thai language touch typing skill.


คำสาคัญ: โปรแกรมฝึกพิมพ์ดีดสำหรับผู้พิการทางตา โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
Typing Training software for The Blind, Computer Assisted Instruction

วารสารฉบับเต็ม :ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม ภาพ icon เพื่อให้ทราบว่าเป็นไฟล์ PDF

menu-thai

* ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์ ในวารสารเป็นของผู้เขียนบทความ และมิได้แสดงว่า กองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยราชสุดาและ คณะผู้จัดทำเห็นด้วยทั้งหมด