Skip Content
ไทย / อังกฤษ

ขณะนี้คุณอยู่ที่ | หน้าแรก | ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๑ มกราคม / มิถุนายน ๒๕๕๓ | พุฑฒิพงษ์ เพชรรัตน์

วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ
ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๑ มกราคม / มิถุนายน ๒๕๕๓


บทความวิจัย : การใช้โปรแกรมปรับพฤติกรรมเพื่อลดพฤติกรรมซ้ำๆ ของนักเรียนออทิสติก

ผู้วิจัย : พุฑฒิพงษ์ เพชรรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาพฤติกรรมซ้ำๆ ของนักเรียนออทิสติกอายุ 9-15 ปีในโรงเรียนศึกษาพิเศษ โดยใช้โปรแกรมปรับพฤติกรรมกิจกรรมการเคลื่อนไหว กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนออทิสติกอายุ 9-15 ปี ที่มีพฤติกรรมซ้ำๆ ไม่มีปัญหาด้านสุขภาพ จำนวน 3 คน กำลังเรียนอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนลพบุรีปัญญานุกูล ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้การวิจัย คือ โปรแกรมปรับพฤติกรรมกิจกรรมการเคลื่อนไหวของเด็กออทิสติก ประกอบด้วย 1) แบบการวิเคราะห์พฤติกรรมซ้ำๆ ก่อนการปรับพฤติกรรมด้วยกิจกรรมการเคลื่อนไหว 2) แผนการสอนการใช้โปรแกรมปรับพฤติกรรมกิจกรรมการเคลื่อนไหว 3) แบบบันทึกพฤติกรรมซ้ำๆ


แบบแผนการทดลอง เป็น Single Subject Design ประเภทการทดลองแบบสลับกลับ (Reversal design หรือ A-B-A-B Design) โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 4 ระยะ ระยะที่ 1 ระยะเส้นฐานที่ 1 (A1) การบันทึกพฤติกรรมซ้ำๆ ของกลุ่มตัวอย่างโดยไม่มีการแทรกแซงใดๆ ใช้เวลา 1 สัปดาห์ ระยะที่ 2 (B1) ระยะการจัดกระทำ เป็นการนำโปรแกรมปรับพฤติกรรมกิจกรรมการเคลื่อนไหวมาใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ใช้เวลา 2 สัปดาห์ ระยะที่ 3 (A2) บันทึกพฤติกรรมซ้ำๆ ของกลุ่มตัวอย่าง โดยไม่มีการแทรกแซงใด ใช้เวลา 1 สัปดาห์ ระยะที่ 4 (B2) ระยะการจัดกระทำ เป็นกิจกรรมการเคลื่อนไหวกับกลุ่มตัวอย่าง อีกครั้งหนึ่ง ใช้เวลา 2 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่า หลังการใช้โปรแกรมปรับพฤติกรรมกิจกรรมการเคลื่อนไหว นักเรียนออทิสติกมีพฤติกรรมซ้ำๆ ต่ำกว่าก่อนการทดลอง โดยหลังการใช้โปรแกรมปรับพฤติกรรมกิจกรรมการเคลื่อนไหว นักเรียนออทิสติก คนที่ 1 มีพฤติกรรมซ้ำๆ ลดลงจากระยะเส้นฐานร้อยละ 45.70 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง นักเรียนออทิสติก คนที่ 2 ร้อยละ 51.98 ซึ่งอยู่ในระดับดี และนักเรียนออทิสติก คนที่ 3 ร้อยละ 50.70 ซึ่งอยู่ในระดับดี

Abstract

This study was aimed to study stereotyped behaviors of students with autism (Aged 9-15 yrs.) in a special education school using behavior modification program through physical activities.


The sample was 3 students with autism, who exhibited stereotyped behaviors, in the second grade of Lopburi Panyanukul School in the second semester in 2552 academic year, selected by purposive sampling. The instruments of this study was behavior modification program through physical activities that consisted of 1) the stereotyped behavioral analysis, 2) the lesson plan of the behavior modification program through physical activities, and 3) the behavior observation sheet.


The Single Subject A-B-A-B Design was used in the study. In the baseline phase (A1): the data were gathered for 1 week without any intervention. In the intervention phase (B1): the behavior modification program through physical activities was introduced to 3 students with autism. The data were collected for 2 weeks. In the second baseline phase (A2): the data were then gathered again for 1 week without any intervention. In the intervention phase (B2): the behavior modification program through physical activities was reintroduced to those students and the data were collected for 2 weeks.


After using the behavior modification program through physical activities, the stereotyped behaviors of all three students were lower than those before using the program. The stereotyped behaviors of the first student with autism decreased from the baseline 45.70 %. The stereotyped behaviors of the second student with autism decreased from the baseline 51.98 %. The stereotyped behaviors of the third student with autism decreased from the baseline 50.70%


คำสาคัญ: พฤติกรรมซ้ำๆ ออทิสติก ปรับพฤติกรรม
Stereotyped Behavior, Autism, Behavior Modification

วารสารฉบับเต็ม :ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม ภาพ icon เพื่อให้ทราบว่าเป็นไฟล์ PDF

menu-thai

* ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์ ในวารสารเป็นของผู้เขียนบทความ และมิได้แสดงว่า กองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยราชสุดาและ คณะผู้จัดทำเห็นด้วยทั้งหมด