Skip Content
ไทย / อังกฤษ

ขณะนี้คุณอยู่ที่ | หน้าแรก | ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๑ มกราคม / มิถุนายน ๒๕๕๓ | สร้อยสุดา วิทยากร,นันทณี เสถียรศักดิ์พงศ์

วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ
ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๑ มกราคม / มิถุนายน ๒๕๕๓


บทความวิจัย : ของเล่นพื้นบ้านในงานกิจกรรมบำบัด เพื่อพัฒนาและฟื้นฟูสมรรถภาพ
สำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ

ผู้วิจัย : สร้อยสุดา วิทยากร,นันทณี เสถียรศักดิ์พงศ์

E-mail : Soisuda@chiangmai.ac.th

บทคัดย่อ

การเล่นของเด็กเกิดจากความต้องการ ความพึงพอใจ เป็นแรงขับภายในตนที่ต้องการเคลื่อนไหว เรียนรู้สิ่งแวดล้อม ซึ่งการที่เด็กจะบรรลุถึงความต้องการและความพึงพอใจได้นั้น เด็กจึงตอบสนองด้วยการเล่น รวมทั้งคุณค่าของการเล่น การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเล่นมีผลในมิติสุขภาพและพัฒนาในด้านร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณ กิจกรรมบำบัดเป็นวิชาชีพหนึ่งที่ให้การส่งเสริม ป้องกัน บำบัด ฟื้นฟูสมรรถภาพในเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ คณะผู้วิจัยสนใจสำรวจ จัดหมวดหมู่ และสังเคราะห์ของเล่นพื้นบ้านที่จำเป็นต่อการส่งเสริมและพัฒนาเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษในชุมชน โดยทำการศึกษาในพื้นที่ของจังหวัดน่านและจังหวัดพะเยา เนื่องด้วยมีแหล่งภูมิปัญญา คือมีกลุ่มผู้เฒ่ารวมตัวกันทำของเล่นพื้นบ้านและโรงเรียนแกนนำเรียนร่วมและโรงเรียนการศึกษาพิเศษตั้งอยู่ ผลการศึกษาพบว่าของเล่นพื้นบ้านในจังหวัดน่าน 40 ชิ้น จังหวัดพะเยา 24 ชิ้น ทั้งสองจังหวัดมีของเล่นพื้นบ้านคล้ายคลึงกัน แต่อาจมีชื่อเรียกแตกต่างกันในบางชิ้น จึงได้จัดกลุ่มของเล่นพื้นบ้านออกเป็น 4 กลุ่ม คือ ของเล่นพื้นบ้านเพื่อพัฒนาประสาทความรู้สึก - การเคลื่อนไหว ของเล่นพื้นบ้านเพื่อพัฒนาประสาทกล้ามเนื้อ ของเล่นพื้นบ้านเพื่อพัฒนาการรู้คิดและของเล่นพื้นบ้านเพื่อพัฒนาด้านสังคม อารมณ์ พฤติกรรม จากการสังเคราะห์ของเล่นพื้นบ้านเพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับเด็กที่มีความจำเป็นพิเศษ คณะผู้วิจัยได้วางแผนจัดประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างผู้เชี่ยวชาญทางกิจกรรมบำบัด กายภาพบำบัด ผู้ออกแบบของเล่นและครูการศึกษาพิเศษ เพื่อดัดแปลง ปรับปรุงของเล่นให้เหมาะสมและนำไปใช้ในชุมชนต่อไป

Abstract

Play in children is natural.Children play to fulfill their needs and self-satisfaction. Children want to play. Values of play are such as health improvement and body-mind-spirit development. Educators in many fields interested and studied intensively about play. Occupational therapy is a professional that provides heath prevention and habilitation in children with special need; therefore, interesting in study about local toys. The objectives of this study were to (1) survey local toys in Nan and Payao provinces, (2) group local toys according to their treatment benefits, and (3) synthesize new local toys for developing and habilitating children with special need. Local toy were found as follows: 40 items from Nan and 24 items from Payao. In both provinces, there were same local toys, which their names were called differently. The local toys were grouped into 4 groups according to their benefits in occupational therapy. They were (1) sensory-motor, (2) muscle, (3) perceptive and cognitive, and (4) social emotional and behavioral improvement. There were some limitation in this process; therefore, the researcher team planned to arrange the conference among expertise in occupational therapy, physical therapy, toy design, and special education in order to appropriately adjust and modify the local toys to use in the future.


คำสาคัญ: ของเล่นพื้นบ้าน กิจกรรมบำบัด เด็กที่มีความจำเป็นพิเศษ
Local toy, Occupational therapy, Children with special need

วารสารฉบับเต็ม :ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม ภาพ icon เพื่อให้ทราบว่าเป็นไฟล์ PDF

menu-thai

* ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์ ในวารสารเป็นของผู้เขียนบทความ และมิได้แสดงว่า กองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยราชสุดาและ คณะผู้จัดทำเห็นด้วยทั้งหมด