Skip Content
ไทย / อังกฤษ

ขณะนี้คุณอยู่ที่ | หน้าแรก | ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม / ธันวาคม ๒๕๕๓ | ชนันต์ แสงสีดา

วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ
ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม / ธันวาคม ๒๕๕๓


บทความวิจัย : สภาพการอยู่อาศัยในที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยวของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม

ผู้วิจัย : ชนันต์ แสงสีดา

E-mail : chanun_s@hotmail.com

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาสภาพสังคม เศรษฐกิจ การอยู่อาศัย และปัญหาการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมในรูปแบบที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว เก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์ การสังเกต จดบันทึก และถ่ายภาพ การเก็บข้อมูลสภาพการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุแบ่งกลุ่มตามระยะดำเนินอาการของโรคสมองเสื่อม พบว่า กลุ่มระยะแรกผู้สูงอายุสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติไม่มีปัญหาการอยู่อาศัย กลุ่มระยะกลางผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรมการอยู่อาศัย ได้แก่ หลงลืม ซุกซ่อนสิ่งของ ก้าวร้าว และเดินวกวนไปมา ทำให้เกิดปัญหาการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุ ได้แก่ การเดินหลงออกจากบ้าน การวางเฟอร์นิเจอร์หรือสิ่งของขวางทางเดิน การซุกซ่อนสิ่งของตามที่ต่างๆ และการรื้อค้นสิ่งของ ส่วนในกลุ่มระยะสุดท้ายผู้สูงอายุจะเคลื่อนไหวร่างกายได้น้อยลง ส่งผลให้มีการใช้พื้นที่ภายในที่อยู่อาศัยลดลง โดยพบว่า ผู้สูงอายุมีการใช้พื้นที่ห้องนอนและห้องน้ำมากที่สุด รองลงมาได้แก่ พื้นที่รับประทานอาหาร และห้องนั่งเล่น ตามลำดับ

Abstract

Content The objective of this studywas to investigate the social conditions, economic conditions, living conditions and living problems of the elderly with dementia who live in the detached houses. The data were collected by interviewing the subjects, surveying their living conditions and taking photographs. The initial-stage elderly dementia patients could perform their daily living activities which did not affect their living conditions. The middle-stage elderly dementia patients were forgetful and aggressive, hid things and walked to and fro, causing problems; for example, they got lost when they walked out of the house, left things in the way and created disorder. The final-stage elderly dementia patients could hardly move so they used less space. The elderly patients spent most of their time in the bedroom and bathroom, followed by the dining area and the living room.


คำสาคัญ: สภาพการอยู่อาศัย ผู้สูงอายุ สมองเสื่อม
Living condition, Elderly, Dementia

menu-thai

* ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์ ในวารสารเป็นของผู้เขียนบทความ และมิได้แสดงว่า กองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยราชสุดาและ คณะผู้จัดทำเห็นด้วยทั้งหมด