Skip Content
ไทย / อังกฤษ

ขณะนี้คุณอยู่ที่ | หน้าแรก | ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม / ธันวาคม ๒๕๕๓ | อารยา ประโมจนีย์

วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ
ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม / ธันวาคม ๒๕๕๓


บทความวิจัย : รูปแบบการจัดโปรแกรมการฝึกทักษะการสร้างความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อม
และการเคลื่อนไหว:กรณีศึกษาผู้ป่วยโรคจอตาเสื่อม
ประเภท Retinitis Pigmentosa (RP) ที่โรงพยาบาลศิริราช ประเทศไทย

ผู้วิจัย : อารยา ประโมจนีย์

E-mail : arayapramo@hotmail.com

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาในการเดินทางของผู้ป่วยโรคจอตาเสื่อมประเภท retinitis pigmentosa (RP) และพัฒนาโปรแกรมฝึกทักษะการเดินทางที่สอดคล้องกับปัญหาในการมองเห็นของผู้ป่วยโรคนี้ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ ผู้ป่วยโรคจอตาเสื่อมประเภท RP ที่มารับการรักษา ณ หน่วยตรวจโรคจักษุ โรงพยาบาลศิริราช ประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน - 30 ธันวาคม 2552 จำนวน 20 คน โดยการคัดเลือกอย่างเจาะจงตามเกณฑ์ที่ผู้วิจัยกำหนด เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาในการเดินทางด้วยสถิติเชิงพรรณนา ขั้นตอนต่อมาผู้วิจัยได้ทำการคัดเลือกอาสาสมัครจากกลุ่มตัวอย่างนี้ได้จำนวน 3 คน เพื่อเป็นกรณีศึกษาในการจัดโปรแกรมฝึกทักษะในการเดินทางที่สอดคล้องกับปัญหาในการมองเห็นเป็นเวลา 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 3 ชั่วโมง ประกอบด้วยทักษะที่สำคัญ ได้แก่ การรับรู้สภาพแวดล้อมและทิศทาง การใช้ประสาทสัมผัสอื่นช่วย การใช้การมองเห็นที่เหลืออยู่ การป้องกันตนเอง การเดินทางโดยลำพัง การใช้อุปกรณ์เครื่องช่วย เป็นต้น ดำเนินการประเมินผลด้วยการใช้แบบประเมินความลำบากในการเดินทางก่อนและหลังการฝึกแบบสังเกตพฤติกรรมการเดินทางในขณะฝึกในบริเวณโรงพยาบาลศิริราช


ผลการวิจัยพบว่า สภาพแวดล้อมที่ผู้เข้าร่วมวิจัยทั้ง 20 ราย รู้สึกเป็นปัญหามากที่สุด คือ การเดินไปมาภายในงานสังคมและการเดินทางตามลำพังในเวลากลางคืน ส่วนผลจากการฝึกทักษะตามโปรแกรมพบว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยกรณีศึกษาทั้ง 3 ราย มีทักษะในการเดินทางด้วยตนเองดีขึ้น มีความพึงพอใจต่อโปรแกรมการฝึกทักษะนี้มากและเห็นพ้องกันว่าการจัดการฝึกทักษะตามโปรแกรมนี้เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคจอตาเสื่อมประเภท retinitis pigmentosa (RP)

Abstract

The objectives of this study were: to explore mobility problems of patients with retinitis pigmentosa (RP), and to develop a mobility training program that meets the needs of these patients. Twenty participants, who met the inclusion criteria, were purposely selected from patients with retinitis pigmentosa at the eye clinic of Siriraj Hospital, Thailand from June 15 – December 30, 2009. These participants were interviewed by using structured interview forms. The data regarding their mobility problems were analyzed using descriptive statistics.


Three patients from these participants volunteered to be individual case studies in a 4-week mobility training program. The program was developed to meet the mobility needs of each participant. Each participant was assessed for their difficulty in traveling with pre and post training. Their mobility was also observed during their training in the Siriraj hospital area.


The results of the interviews showed that the most difficult mobility situations for the 20 patients with retinitis pigmentosa (RP) were moving around social gatherings and walking alone at night. As a result of practicing mobility skills in this training program, all participants improved their mobility skills and were more satisfied with this training program. They also agreed that it was appropriate for patients with retinitis pigmentosa (RP).


คำสาคัญ: ทักษะการสร้างความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว
Orientation and Mobility / Retinitis Pigmentosa /Low Vision / O&M / Visual Impairment

menu-thai

* ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์ ในวารสารเป็นของผู้เขียนบทความ และมิได้แสดงว่า กองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยราชสุดาและ คณะผู้จัดทำเห็นด้วยทั้งหมด