Skip Content
ไทย / อังกฤษ

ขณะนี้คุณอยู่ที่ | หน้าแรก | ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม / ธันวาคม ๒๕๕๓ | นงนุช ปานทุบวร

วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ
ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม / ธันวาคม ๒๕๕๓


บทความวิจัย : ความพร้อมขององค์การบริหารส่วนตำบล
ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการจังหวัดชลบุรี

ผู้วิจัย : นงนุช ปานทุบวร

E-mail : Mindy-liu6996@hotmail.com

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมและการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการและเพื่อการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพร้อมกับการดำเนินงานของ อบต. ประชากร คือ นายก อบต. หรือตัวแทนนายก อบต. ทั้งหมดในจังหวัดชลบุรี จำนวน 58 แห่ง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลความพร้อมของ อบต. ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในด้านต่างๆ 6 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านฐานข้อมูลคนพิการ ด้านแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการระดับท้องถิ่น ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ และด้านการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานหรือภาคีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้พิการ


ผลการศึกษาพบว่า จังหวัดชลบุรีมีความพร้อมในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการทุกด้านในระดับมากและปานกลาง ส่วนการดำเนินงานจริงด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านการแพทย์ ด้านการศึกษา ด้านสังคม ด้านอาชีพ และด้านอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกของคนพิการ มีการดำเนินงานในระดับปานกลางและระดับน้อย ความพร้อมของ อบต. พบว่าความพร้อมของ อบต. ด้านฐานข้อมูลคนพิการ และด้านแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการระดับท้องถิ่น มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการของ อบต. ทุกด้าน ความพร้อมด้านงบประมาณและการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานหรือภาคีต่างๆ มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงาน (4 ด้าน) ด้านบุคลากรมีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานทั้ง 3 ด้าน ระดับความพร้อมด้านความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการไม่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในทุกๆ ด้าน

Abstract

The objectives for this research were to study on the preparedness of Sub-district Administrative Organization (SAO) in term of the quality of life development for Persons with Disabilities including study on the relationship between the preparedness and the implementation of SAO. The population of this research was the chairman of SAO or the authorized representative from 58 SAOs in Chonburi province. The questionnaire was used as a tool of this research to conduct the data.


The results indicated that; the preparedness of SAOs in Chonburi province for the quality of life development for Persons with Disabilities in the issues of knowledge, crippled database, quality of life development plan for Persons with Disabilities in local level, human resources, budget including collaboration with other organization or alliances which related to Persons with Disabilities and could be classify into 3 levels (high, moderate, and low) was in high and moderate level of all preparedness issues. As the 5 issues of SAO implementation part which were medical, education, social, occupation, and building including facilities for Persons with Disabilities indicated that, the SAOs in Chonburi province was in moderate and low level.


The result of the relationship between the preparedness and the implementation of SAO presented that the issues of Persons with Disabilities database and quality of life development plan for Persons with Disabilities in local level in SAO properness part was related to SAO implementation in all issues. And the issues of budget and collaboration with other organization or alliances were related to only 4 issues of SAO implementation. However, there was no relationship between the knowledge in part of SAO preparedness and all 5 issues of SAO implementation.


คำสาคัญ: ความพร้อมขององค์การบริหารส่วนตำบล การพัฒนาคุณภาพคนพิการ
The Readiness of the Tambon Adminstrations Organizations,
The Quality of life Development for people with Disabilities

menu-thai

* ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์ ในวารสารเป็นของผู้เขียนบทความ และมิได้แสดงว่า กองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยราชสุดาและ คณะผู้จัดทำเห็นด้วยทั้งหมด