Skip Content
ไทย / อังกฤษ

ขณะนี้คุณอยู่ที่ | หน้าแรก | ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม / ธันวาคม ๒๕๕๓ | มนฤดี ทองกลอย

วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ
ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม / ธันวาคม ๒๕๕๓


บทความวิจัย : กการเข้าถึงสื่อมวลชนของเยาวชนพิการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ผู้วิจัย : มนฤดี ทองกลอย

E-mail : fangpong@hotmail.com

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาสถานการณ์เกี่ยวกับการเข้าถึงสื่อมวลชนของเยาวชนพิการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และปัญหาในการเข้าถึงสื่อมวลชนของเยาวชนพิการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ประกอบด้วยกลุ่มเยาวชนพิการ 4 ประเภท ได้แก่ กลุ่มเยาวชนพิการทางการเห็นโครงการเรียนร่วมที่พักอาศัยที่โรงเรียนสอนคนตาบอด กรุงเทพ จำนวน 16 คน กลุ่มเยาวชนพิการทางการได้ยินโรงเรียนโสตศึกษา จังหวัดนนทบุรี 17 คน กลุ่มเยาวชนพิการทางร่างกายโรงเรียนศรีสังวาลย์ จังหวัดนนทบุรี จำนวน 15 คน กลุ่มอาจารย์ผู้ดูแลเยาวชนพิการทางสติปัญญาโรงเรียนฉะเชิงเทราปัญญานุกูล จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 7 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 55 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาวิเคราะห์


ผลการวิจัยพบว่า(1) เยาวชนพิการทางการเห็นจะเข้าถึงสื่อวิทยุเพราะเป็นสื่อที่ให้รายละเอียดผ่านเสียงมากที่สุด รองลงมา คือ สื่อโทรทัศน์และสื่ออินเทอร์เน็ต ตามลำดับ สำหรับสื่ออินเทอร์เน็ตเข้าถึงโดยใช้โปรแกรมตาทิพย์ซึ่งเป็นโปรแกรมที่แปลงตัวอักษรเป็นเสียง เยาวชนพิการทางการได้ยินจะเข้าถึงสื่ออินเทอร์เน็ต โดยใช้ในการสื่อสาร เช่น โปรแกรมแคมฟร็อก (Camfrog) และเอ็ม เอส เอ็น (MSN) มากที่สุด รองลงมา คือ สื่อโทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์ ตามลำดับ เยาวชนพิการทางร่างกายจะเข้าถึงสื่อโทรทัศน์ รองลงมา คือ สื่ออินเทอร์เน็ต สื่อวิทยุและสื่อสิ่งพิมพ์ ตามลำดับ และเยาวชนพิการทางสติปัญญาจะเข้าถึงสื่อโทรทัศน์ รองลงมา คือ สื่อวิทยุ สื่ออินเทอร์เน็ต และสื่อสิ่งพิมพ์ ตามลำดับ (2) เยาวชนพิการทางการเห็นมีปัญหาการเข้าถึงสื่อโทรทัศน์แต่มีการบรรยายด้วยเสียงไม่ชัดเจนเหมือนสื่อวิทยุ ส่วนสื่ออินเทอร์เน็ตขาดโปรแกรมตาทิพย์ เยาวชนพิการทางการได้ยินมีปัญหาด้านภาษา โดยขาดภาษามือในรายการโทรทัศน์ ตัวอักษรวิ่งด้านล่างของสื่อโทรทัศน์มีขนาดเล็กและวิ่งเร็วเกินไป เยาวชนพิการด้านร่างกาย ขาดอุปกรณ์เสริมสำหรับคนพิการเพื่อใช้งานคอมพิวเตอร์ และเยาวชนพิการด้านสติปัญญามีปัญหาเรื่องโอกาสในการเข้าสื่อที่แตกต่างกันตามสภาพความพิการ ปัญหาในเรื่องการรับรู้ของเยาวชน

Abstract

The objective of this study is to investigate: The situation regarding access to mass media by disabled youths in the greater Bangkok area; and problems encountered while accessing mass media.


Fifty-five samples of this qualitative research were purposively selected, consisting of four groups of disabled youths: 16 youths with visual impartment from the Bangkok School for the Blind, 17 youths with hearing impairment from the Nonthaburi School for the Deaf, 15 youths with physical impairment from Srisangwal School in Nonthaburi province and seven teachers who took care of youths with intellectual disabilities at Panyanukul School in Chachoengsao province. Interview guidelines were used for data collection. An analytical-descriptive approach was used for data analysis.


Results: (1) Youths with visual impairment reported access to radio, because radios provided the most details via voice, followed by television and the Internet. They accessed the Internet using the PPA Tatip software program, which transformed text into speech. Youths with hearing impairment reported access to the Internet via the Camfrog and MSN programs, followed by television and publications. Youths with physical impairment reported they accessed television, followed by the Internet, radio and publications. Youths with intellectual disabilities accessed televisions, followed by radio, the Internet and publications. (2) Youths with visual impairment had problems accessing television, due to unclear narration, as radio broadcasts were clearer; and problems with the Internet, due to a shortage of the PPA Tatip program. Youths with hearing impairment had problems with an absence of sign language and subtitles being too small and moving too quickly at the bottom of the screen. Youths with physical impairment lacked supplemental instruments for computer use. Youths with intellectual disabilities had different problems with access, depending on particular disability and perception problems.


คำสาคัญ: การเข้าถึงโอกาสการทำงาน คนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย การเลือกอาชีพของคนพิการ
Access, Mass media, Disabled youths

menu-thai

* ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์ ในวารสารเป็นของผู้เขียนบทความ และมิได้แสดงว่า กองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยราชสุดาและ คณะผู้จัดทำเห็นด้วยทั้งหมด