Skip Content
ไทย / อังกฤษ

ขณะนี้คุณอยู่ที่ | หน้าแรก | ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๑๐ มกราคม / ธันวาคม ๒๕๕๔ | วิติยา ปิดตังนาโพธิ์

วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ
ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๑๐ มกราคม / ธันวาคม ๒๕๕๔


บทความวิจัย : สไตล์การเรียนรู้กับการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับคนหูหนวก

ผู้วิจัย : วิติยา ปิดตังนาโพธิ์

E-mail : witiyap@nu.ac.th

บทคัดย่อ

ตลอดระยะเวลากว่าทศวรรษที่ผ่านมา การพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อประโยชน์แก่ผู้พิการได้ดำเนินงานอย่างต่อเนื่องบนความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ดังจะเห็นได้จากการปรับปรุงและพัฒนาสภาพแวดล้อม อาคาร สถานที่ ตลอดจนพื้นที่สาธารณะเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ แนวคิดการออกแบบสำหรับคนทุกคน (Universal Design) เป็นหัวใจสำคัญในการออกแบบและปรับปรุงสภาพแวดล้อมเชิงกายภาพ แม้ว่าแนวคิดดังกล่าวจะตอบสนองนโยบายระดับสาธารณะด้านการสร้างความเท่าเทียมกันในสังคมไทย อย่างไรก็ตามการขับเคลื่อนและพัฒนายังลงไปไม่ถึงกระบวนการศึกษา โดยเฉพาะในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสภาพแวดล้อม การเรียนรู้ส่วนใหญ่เน้นการเผยแพร่แนวคิดการออกแบบสำหรับทุกคนซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาพุทธิพิสัย ข้อจำกัดนี้จึงทำให้ผู้เขียนได้พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อสร้างจิตสำนึกในการออกแบบสภาพแวดล้อมให้เอื้อประโยชน์แก่ผู้พิการอย่างบูรณาการ ผ่านกระบวนการเรียนการสอนทั้งในและนอกชั้นเรียน แก่นิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยศึกษาจากนิสิตกลุ่มเป้าหมายจำนวน 20 คน ผ่านกระบวนการพัฒนาองค์ความรู้ (พุทธิพิสัย: Cognitive learning domain) เกี่ยวกับแนวคิดการออกแบบสำหรับทุกคน (Universal design) และผ่านการเรียนรู้เชิงประจักษ์จากประสบการณ์ตรง (ทักษะพิสัย: Psychomotor learning domain) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงด้านจิตพิสัย (Affective learning domain) ตามแนวคิดด้านการศึกษาของ Bloom โดยวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกันทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผลการเปรียบเทียบพบว่าการเปลี่ยนแปลงจิตสำนึกด้านการออกแบบเพื่อผู้พิการเห็นได้ชัดเจนในการเรียนรู้เชิงประจักษ์มากกว่า ดังนั้นการสร้างเสริมจิตสำนึกด้านการออกแบบสำหรับคนทุกคนจะประสบความสำเร็จได้ ต้องพัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง ควบคู่กับการเปิดโอกาสให้นิสิตเรียนรู้จากประสบการณ์จริง

Abstract

Over the last decade, development in environment for supporting people with disabilities has been implemented by several organizations. Improvement in public buildings and making places accessible are obvious examples. Universal design is a crucial concept for achieving this. This concept has been supported by public policies in order to make societies equitable for all. Unfortunately, education on universal design is less developed in Thai education, particularly in environmental design studies. Most existing Thai curriculum has mainly concentrated on building knowledge: cognitive skill development, rather than practicing. The aim of this study is to enhance holistic learning for architecture students of Naresuan University either in or outside classrooms. There are 20 students involved with two main learning approaches regarding with Bloom's Taxonomy. First is to develop their cognitive domain by educating them on universal design concept. Second is to provide them real situations to learn as a psychomotor learning development. Then changes in students' awareness on design for others, affective learning, are explored by using both quantitative and qualitative approaches. By comparison between the two learning processes, architecture students who participated in learning by doing understand and more aware of other people with disabilities. Therefore, to enhance students' awareness on universal design will be likely successful if their learning skills are developed in building relevant knowledge and in learning from their direct experiences.

menu-thai

* ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์ ในวารสารเป็นของผู้เขียนบทความ และมิได้แสดงว่า กองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยราชสุดาและ คณะผู้จัดทำเห็นด้วยทั้งหมด