Skip Content
ไทย / อังกฤษ

ขณะนี้คุณอยู่ที่ | หน้าแรก | ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๑๐ มกราคม / ธันวาคม ๒๕๕๔ | สันติชัย วิชา, ภราดร สุรีย์พงษ์ และณพศิษฏ์ จักรพิทักษ์

วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ
ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๑๐ มกราคม / ธันวาคม ๒๕๕๔


บทความวิจัย : การพัฒนาพจนานุกรมภาพเคลื่อนไหวการสื่อสารแบบองค์รวม เพื่อสนับสนุน
การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ในนักเรียนผู้มีความบกพร่องทางการได้ยิน
ระดับประถมศึกษา

ผู้วิจัย : สันติชัย วิชา, ภราดร สุรีย์พงษ์ และณพศิษฏ์ จักรพิทักษ์

E-mail : Santichai@mfu.ac.th

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการพัฒนาสื่อที่เรียกว่า พจนานุกรมภาพเคลื่อนไหวการสื่อสารแบบองค์รวม หรือ TCAD (Total Communication with Animation Dictionary) เพื่อเป็นสื่อในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของเด็กผู้มีความบกพร่องทางการได้ยินระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ประถมศึกษาปีที่ 6 พจนานุกรมที่ใช้ภาพ เคลื่อนไหว ร่วมกันกับการสื่อสารแบบองค์รวมถือเป็นนวัตกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแบบใหม่ สำหรับผู้มีความบกพร่องทางการได้ยิน พจนานุกรมนี้ใช้ภาษามือที่เป็นภาพเคลื่อนไหว (เช่น วีดีทัศน์ภาพเคลื่อนไหวภาษามือไทย วีดีทัศน์การขยับริมฝีปาก) ร่วมกับความหมายคำศัพท์ ไทย – อังกฤษที่แสดงเป็นภาพเรียงตามหมวดหมู่ ผลจากการทดลองใช้ในโรงเรียนที่สอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน โดยมีการสอนเปรียบเทียบกับการเรียนการสอนแบบดั้งเดิมที่ใช้อยู่ เป็นกรณีศึกษาพบว่า พจนานุกรมดังกล่าวเป็นสื่อเสริมให้นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน สามารถจดจำคำศัพท์ได้ดีขึ้นหลังเรียน และผู้เรียนสามารถจดจำคำศัพท์ได้นาน (Long - term memory retention) ได้ผลดีกว่าการเรียนการสอนแบบดั้งเดิม สื่อดังกล่าวสามารถใช้ในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน และยังสามารถใช้เป็นสื่อเพื่อเสริมการเรียนรู้นอกเวลาเรียนได้

Abstract

This research is on the development of a media that is holistically incorporated with a thesaurus, animation, communication, otherwise known as TCAD (Total Communication with Animation Dictionary). The purpose is so that students with a hearing impairment, at the primary level of one to six, will be able to use the animation-based dictionary to not only communicate in a holistic way but to be taught and learn the English language through an innovative form. Factors such as video, animated Thai Sign Language and visual lip movement are utilized to support the learning for these students. The words and meaning of the Thai and English language are sorted by category. A case study on the teaching versus traditional instruction was applied with a dictionary as a supplement. Results have been finalized from the tests that were given in the form of lessons to the students. The results show that these students can remember the words better after school and that they can memorize words in the long term (long - term memory retention). Learning with the TCAD provided an edge over the traditional teaching/learning methods, thus not only promoting English language learning in the classroom but also as a device for students with a hearing impairment to learn at their own leisure time.


คำสาคัญ: นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน, การสื่อสารแบบองค์รวม, การเรียนรู้และจดจำคำศัพท์,
แอนนิเมชั่นภาพเคลื่อนไหว, การเรียนการสอนบนระบบเว็บไซต์
Hearing Impairment, Total Communication, 3D Animation,
Vocabulary Language Acquisition, Web-based Learning

menu-thai

* ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์ ในวารสารเป็นของผู้เขียนบทความ และมิได้แสดงว่า กองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยราชสุดาและ คณะผู้จัดทำเห็นด้วยทั้งหมด