Skip Content
ไทย / อังกฤษ

ขณะนี้คุณอยู่ที่ | หน้าแรก | ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑๑ | ไวยวุฒิ วุฒิอรรถสาร

วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ
ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑๑ มกราคม - ธันวาคม ๒๕๕๕


บทความวิจัย : การสื่อสารกับการสร้างอัตลักษณ์ของคนหูหนวกไทย: ภาพยนตร์

ผู้วิจัย : ไวยวุฒิ วุฒิอรรถสาร

E-mail : wwuthiastasarn@yahoo.com

บทคัดย่อ

การศึกษา"การสื่อสารกับการสร้างอัตลักษณ์ของคนหูหนวกไทย: ภาพยนตร์" เป็นการศึกษา วาทกรรมการสร้างภาพของคนหูหนวกผ่านภาพยนตร์โดยการเล่าเรื่องผ่านตัวละครหูหนวกใน ภาพยนตร์ไทย แม้จะมีไม่มากแต่สามารถวิเคราะห์จากตัวบทเป็นภาพตัวแทนของคนหูหนวกไทยได้ ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ภาพยนตร์ 3 เรื่อง คือ ภาพยนตร์เรื่องผู้ชายชื่อต้นผู้หญิงชื่อนุช, ภาพยนตร์เรื่องบางกอกแดนเจอรัส เพชฌฆาตเงียบอันตราย และภาพยนตร์เรื่องเราสองสามคน


ผลการวิจัยพบว่า ภาพตัวแทนของคนหูหนวกที่ถูกสร้างจากภาพยนตร์มีทั้งด้านบวกและด้านลบ ทั้งนี้ เกิดจากชุดความคิดหรือความรู้ที่เป็นวาทกรรมกำกับอยู่เบื้องหลัง ประกอบไปด้วย ชุดความคิด เรื่องกรรม ชุดความคิดเวทนานิยม ชุดความคิดการบำบัดรักษา ชุดความคิดการฟื้นฟูสมรรถภาพ ชุดความคิดสังคมสงเคราะห์ และชุดความคิดการยอมรับความแตกต่าง โดยการประกอบสร้างอัตลักษณ์ของ คนหูหนวกไทยจากผู้ชมภาพยนตร์ที่เป็นคนที่มีการได้ยินและคนหูหนวกขึ้นอยู่กับ "จิตสำนึกความเป็น คนหูหนวก" ซึ่งสามารถแตกต่างกันได้ในฐานะของผู้สร้างความหมาย

Abstract

"Communicationand Construction of Deaf Identity in Thailand: Cinema" is a study of poetry from cinemas that made the representation of Deaf Identity as a discourse. This article analyses a portrayal of the Deaf Identity in Thai films: Your Eyes and My Eras, Bangkok Dangerous, and That Sounds Good by textual analysis method.


From the research that the representation of Deaf Identity is constructed from the power of knowledge; Karma, Pity, Cure, Rehabilitation, Social Welfare and Diffable (differently-abled people). Deaf people and Hearing people can construct the differences of Deaf Identities by "The Deaf consciousness" as a reader.


คำสาคัญ: หูหนวก, อัตลักษณ์, ภาพยนตร์
Deaf, Identity, Cinema

menu-thai

* ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์ ในวารสารเป็นของผู้เขียนบทความ และมิได้แสดงว่า กองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยราชสุดาและ คณะผู้จัดทำเห็นด้วยทั้งหมด