Skip Content
ไทย / อังกฤษ

ขณะนี้คุณอยู่ที่ | หน้าแรก | ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑๑ | นิดา วงศ์สวัสดิ์, เบญจพร ศักดิ์ศิริ

วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ
ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑๑ มกราคม - ธันวาคม ๒๕๕๕


บทความวิจัย : การวิจัยและพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์เครื่องช่วยขยับข้อเท้าสำหรับ
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ผู้วิจัย : นิดา วงศ์สวัสดิ์, เบญจพร ศักดิ์ศิริ

E-mail : nidavo1113@gmail.com และ benjaporn.sak@mahidol.ac.th

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์เครื่องช่วยขยับข้อเท้าสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอุปกรณ์ที่มีความเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่มีภาวะข้อเท้าติดสามารถใช้เพื่อการฟื้นฟูการขยับข้อเท้าที่สามารถนำมาใช้ได้ในระดับชุมชน โดยดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่หนึ่งเป็นการออกแบบและพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์เครื่องช่วยขยับข้อเท้า ที่ผู้ป่วยสามารถใช้เป็นอุปกรณ์เครื่องช่วยขยับข้อเท้าได้ด้วยตัวเอง โดยผ่านกระบวนการวิจัยและพัฒนาตามสภาพแวดล้อมและบริบทของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทย การออกแบบใช้วัสดุที่หาได้ง่าย ปลอดภัย ใช้งานง่าย การดูแลรักษาง่ายและมีราคาเหมาะสม และนำไปทดสอบการใช้งานกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 10 คน เพื่อนำผลการทดสอบมาปรับปรุงอุปกรณ์ให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น ขั้นตอนที่สองเป็นการทดสอบและประเมินประสิทธิผลของอุปกรณ์เครื่องช่วยขยับข้อเท้าโดยดำเนินการวิจัยกับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 20 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 10 คน ประเด็นในการประเมินประกอบด้วย ภาวะกล้ามเนื้อข้อเท้าหดเกร็ง ภาวะข้อเท้าติด และประเมินความพึงพอใจในการใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยขยับข้อเท้า ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของมุมกระดกข้อเท้าขึ้นเพิ่มขึ้นเป็น 7.98 องศาและค่าเฉลี่ยของมุมกระดกข้อเท้าลงเพิ่มขึ้นเป็น 8.02 องศา โดยค่าเฉลี่ยของมุมการเคลื่อนไหวกระดกข้อเท้าขึ้นหลังใช้อุปกรณ์ช่วยขยับ ข้อเท้ามีค่ามากกว่าค่าเฉลี่ยก่อนใช้อุปกรณ์ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองพบว่าค่าเฉลี่ยของมุมการเคลื่อนไหวกระดกข้อเท้าขึ้นในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 จากการพิจารณาค่าภาวะกล้ามเนื้อข้อเท้าหดเกร็งพบว่าในกลุ่มทดลองมีค่าภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งน้อยกว่าค่าภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในกลุ่มควบคุม ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 สามารถสรุปได้ว่า หลังจากใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยขยับข้อเท้าพบว่ากลุ่มเป้าหมายมีภาวะกล้ามเนื้อข้อเท้าหดเกร็งลดลง

Abstract

This research encompassed the design and development of an ankle- foot passive motion prototype, which was tested by stroke patients for effectiveness. The research was divided into two parts: The first past, the device was designed with simplicity in mind such that the stroke patient could move their ankles independently without assistance from relatives or caregivers. The design used readily available materials in Thailand. The device was developed to be safe, easy to use, and inexpensive so that stroke patients can perform their ankle rehabilitation at home. The second past, the ankle-foot passive motion prototype underwent effectiveness testing and assessment by 30 stroke patients. Issues of assessment were ankle spasticity, ankle joint stiffness and satisfaction after use. According to the experimental results, the average increasing ankle dorsiflexion range of motion was 7.98 degrees and the average of increasing ankle plantarflexion range of motion was 8.02 degrees. The average value of ankle dorsiflexion range of motion after use of the prototype was greater than the average before use of the prototype, and the average value of ankle dorsiflexion range of motion in the experimental group differed significantly from in the control group (p < 0.05). In addition, ankle spasticity in the experimental group was less than the control group after using the prototype (p < 0.05).


คำสาคัญ: อุปกรณ์เครื่องช่วยขยับข้อเท้า, การช่วยขยับข้อเท้า, ข้อเท้าติด, โรคหลอดเลือดสมอง
Ankle-Foot Passive Motion Device, Ankle Passive Movement, Ankle Stiffness, Stroke

menu-thai

* ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์ ในวารสารเป็นของผู้เขียนบทความ และมิได้แสดงว่า กองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยราชสุดาและ คณะผู้จัดทำเห็นด้วยทั้งหมด