Skip Content
ไทย / อังกฤษ

ขณะนี้คุณอยู่ที่ | หน้าแรก | ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑๑ | เศรษฐชัย ชัยสนิท, สัมพันธุ์ จันทร์ดี, สุรชัย สุขสกุลชัย และวชิรพันธ์ แก้วประพันธ์

วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ
ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑๑ มกราคม - ธันวาคม ๒๕๕๕


บทความวิจัย : รูปแบบความร่วมมือในการเรียนรู้สำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน

ผู้วิจัย : เศรษฐชัย ชัยสนิท, สัมพันธุ์ จันทร์ดี, สุรชัย สุขสกุลชัย และวชิรพันธ์ แก้วประพันธ์

E-mail : settachai.ch@gmail.com , samphan.c@rmutr.ac.th และ
surachai.suk@kmutt.ac.th

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้สำหรับนักเรียนผู้บกพร่องทางการได้ยิน โดยนำทฤษฎีการเรียนรู้ของผู้บกพร่องทางการได้ยินและนวัตกรรมการเรียนรู้เป็นทฤษฎีหลักในการศึกษาวิจัย สำหรับเครื่องมือที่นำมาใช้ในงานวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามปัจจัยและผลกระทบของการเรียนรู้ที่ได้รับการพัฒนาตามปัจจัยการเรียนรู้ของนักเรียนผู้บกพร่องทางการได้ยิน เพื่อรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนผู้บกพร่องทางการได้ยิน ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลจำนวน 195 คน ทำการคัดเลือกโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างตามวัตถุประสงค์ การดำเนินการวิจัยโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการและการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการสัมภาษณ์ การอภิปราย การประชุมเชิงปฏิบัติการและใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยโดยผลการศึกษาวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นักเรียนผู้บกพร่องทางการได้ยินมีองค์ประกอบหลัก 4 ประการคือ 1) ครูและสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ 2) ครอบครัวและการสนับสนุนทางการศึกษา 3) ความสามารถทางการเรียนรู้และนักเรียนผู้บกพร่องทางการได้ยินและ 4) องค์ประกอบทางสังคมและการปฏิสัมพันธ์ สุดท้ายนี้ผู้วิจัยสามารถสรุปว่าการศึกษาวิจัยครั้งนี้สามารถช่วยในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และสามารถปรับปรุงศักยภาพในการเรียนรู้และการแบ่งปันความรู้ได้อย่างเท่าเทียมและกว้างขวาง

Abstract

The objective of this research was to develop learning model for hearing impaired students. Educational elements and other conditions which affect the achievement of hearing impaired were studied in a population of students who have defective hearing at the School for the Deaf in Bangkok and its vicinity. A sample of 195 hearing impaired students from Grade Levels 1-6 was selected. Research approaches included data collection using questionnaires, forms, interviews, as well as discussion groups and workshops that included a sign language interpreter. These techniques were used to elucidate and assist in analyzing the collected data related to the factors influencing the learning achievement of the hearing impaired students. The resulting analysis revealed that the main elements that affect the achievement of the hearing could be divided into four categories, namely: characteristics of the teacher/learning environment; quality of family life and educational support; characteristics and abilities of the student; social elements and interactions. At the conclusion of the study, after using the method of this model, the researcher observed that the hearing impaired children felt secure, cared for, emotionally encouraged that the teachers understood them and were concerned about them. Finally, this study can help for creating a society of learning; improve the adoption potential and a wide sharing of knowledge.


คำสาคัญ: รูปแบบความร่วมมือ, การเรียนรู้, ผู้บกพร่องทางการได้ยิน
Collaborative Model, Learning Method, Hearing Impaired

menu-thai

* ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์ ในวารสารเป็นของผู้เขียนบทความ และมิได้แสดงว่า กองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยราชสุดาและ คณะผู้จัดทำเห็นด้วยทั้งหมด