Thai / Eng
หัวข้อ | รายละเอียด | ![]() |
---|---|---|
ชื่อกิจกรรม/โครงการ : | การจัดการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตร "การบริการฝึกทักษะการดำรงชีวิตอิสระของคนพิการสำหรับคนพิการทางกายและการเคลื่อนไหว" รุ่นที่ 1: ประจำปี 2563 | |
ที่มาและความสำคัญของปัญหา : | ตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กำหนดนโยบายที่มีเป้าหมายการพัฒนาเชิงระบบในการส่งเสริมให้มีการพัฒนาศูนย์บริการคนพิการทั่วไป ที่สามารถขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยร่วมให้บริการสุขภาพปฐมภูมิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดสถานบริการสาธารณสุขอื่นเป็นสถานบริการตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ฉบับที่ 2 พ.ศ.2562 "ข้อ 3/1 ให้ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป ที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ให้การรับรอง หรือศูนย์บริการอื่นที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดไว้ เป็นสถานบริการสาธารณสุขอื่นที่คณะกรรมการกำหนดเพิ่มเติม ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545" (ลงนามเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2562) ทั้งนี้ ได้กำหนดเกณฑ์การขึ้นทะเบียนศูนย์บริการเป็นหน่วยร่วมบริการฯ ต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานการบริการฯ ที่กรมการแพทย์ฯกำหนด และจะต้องมีบุคลากรของศูนย์ อย่างน้อย 1 คนที่ผ่านการอบรมตามมาตรฐาน"หลักสูตรบริการฝึกทักษะการดำรงชีวิตอิสระของคนพิการทางกายและการเคลื่อนไหว" วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สภาศูนย์การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการประเทศไทย สถาบันสิริธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงร่วมกันจัดทำ "หลักสูตรการบริการฝึกทักษะการดำรงชีวิตอิสระของคนพิการสำหรับคนพิการทางกายและการเคลื่อนไหว" เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่ทำงานในศูนย์บริการคนพิการทั่วไป ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด และสามารถขึ้นทะเบียนศูนย์บริการเป็นหน่วยร่วมบริการฯ ได้ต่อไป | |
ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม/โครงการ : | ระหว่างวันที่ 7 สิงหาคม 2563 – 30 กันยายน 2563 | |
สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ : | - สถาบันสิริธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ - โรงพยาบาลหลวงพ่อเปิ่น - โรงแรม เดอะรอยัลเจมส์ ศาลายา - ศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการที่ขึ้นทะเบียนเป็นศูนย์บริการคนพิการทั่วไป และหน่วยร่วมให้บริการสุขภาพ ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ |
|
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย : | - สภาศูนย์การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการประเทศไทย - สถาบันสิริธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ - สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ - กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ |
|
วัตถุประสงค์ : | 1) ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจในการฝึกทักษะการดำรงชีวิตอิสระสำหรับคนพิการ 2) ผู้เข้าอบรมสามารถให้ข้อมูลในเรื่องการดำเนินชีวิตของคนพิการอย่างมีคุณค่า 3) ผู้เข้าอบรมสามารถฝึกให้คนพิการทำกิจกรรมหรือภารกิจต่างๆ ตรงตามความต้องการจำเป็นของคนพิการ 4) ผู้เข้าอบรมสามารถจัดทำโปรแกรมและให้บริการฝึกทักษะได้ตรงตามความต้องการจำเป็นของคนพิการ |
|
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ : | 1) การอบรมภาคทฤษฎี รวม 36 ชั่วโมง - หมวดบริการสุขภาพ 7 ด้าน (30 ชั่วโมง) - หมวดบริหารจัดการ 3 ด้าน (6 ชั่วโมง) การประเมินผล: การสอบวัดผลตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ในแต่ละหัวข้อ (ข้อสอบข้อเขียน /การสอบปฏิบัติโดยมี checklist / การสอบปากเปล่า) 2) การอบรมภาคปฏิบัติ จำนวน 126 ชั่วโมง - ศึกษาดูงาน 2 แห่ง (6 ชั่วโมง) การศึกษาดูงาน หน่วยงานต้นแบบ ในการจัดให้บริการการฝึกทักษะการดำรงชีวิตอิสระสำหรับคนพิการ ในศูนย์บริการคนพิการที่ได้การรับรองมาตรฐาน การประเมินผล: การจัดทำใบงาน / รายงานสรุปการเรียนรู้ (กลุ่ม) - ฝึกปฏิบัติ จำนวน 3 กรณีศึกษา (120 ชั่วโมง) การนำความรู้ การจัดให้บริการ การฝึกทักษะการดำรงชีวิตอิสระสำหรับคนพิการ ไปปฏิบัติกับชุมชน ในศูนย์บริการคนพิการ โดยได้รับการนิเทศจากผู้มีความรู้และมีประสบการณ์ การประเมินผล: : จัดทำและนำเสนอ Case Report ไม่น้อยกว่า 3 กรณี |
|
กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม : | คนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย ที่ทำงานในศูนย์บริการคนพิการทั่วไป | |
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม : | 12 คน | |
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากกิจกรรม : | - ผู้ผ่านการอบรม สามารถเป็นทั้งผู้ให้บริการตามเกณฑ์มาตรฐานการบริการ (ซึ่งเข้าเกณฑ์ที่สามารถขึ้นทะเบียนศูนย์บริการเป็นหน่วยร่วมบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้) และสามารถเป็นวิทยากรอบรมผู้ให้บริการรุ่นต่อไปในอนาคตได้ด้วย ซึ่งจะสามารถเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการบริการด้านสุขภาพของคนพิการได้มากขึ้น โดยคาดหวังว่าในปีงบประมาณ 2564 จะสามารถขยายผลให้เกิด "ศูนย์บริการคนพิการทั่วไปที่ดำเนินการโดยภาคประชาชน/ องค์กรคนพิการ สามารถร่วมให้บริการสุขภาพปฐมภูมิในระบบสุขภาพ และบูรณาการกับการให้บริการทางสังคม จำนวนไม่น้อยกว่า 10 แห่ง และสามารถให้บริการคนพิการในเบื้องต้นไม่น้อยกว่า 20 คน/ 2 ศูนย์บริการ รวมการเพิ่มการเข้าถึงบริการของคนพิการ ไม่น้อยกว่า 200 คน | |
Web link อ้างอิงการดำเนินงาน : | https://rs.mahidol.ac.th/thai/activity/year-2020/008-2020/08-08-2020.php https://rs.mahidol.ac.th/thai/activity/year-2020/008-2020/09-08-2020.php https://rs.mahidol.ac.th/thai/activity/year-2020/008-2020/025-08-2020.php https://rs.mahidol.ac.th/thai/activity/year-2020/008-2020/030-08-2020.php |
|
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ | ![]() ![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |