Skip Content
ไทย / อังกฤษ

ขณะนี้คุณอยู่ที่ | หน้าแรก | วารสารปีที่ ๑๕ | บทความวิจัยเรื่องที่ ๓

วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ
วารสารปีที่ ๑๕ ฉบับที่ ๑ มกราคม - มิถุนายน ๒๕๖๒

บทความวิจัย : ความคาดหวัง ปัญหา และอุปสรรคของนายจ้างต่อการจ้างงานคนพิการตามพระราชบัญญัติ
ส่งเสริมและ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ.2556

ผู้วิจัย : คริษฐา อ่อนแก้ว

E-mail : karittha_o@hotmail.com

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องความคาดหวัง ปัญหา และอุปสรรคของนายจ้างต่อการจ้างงานคนพิการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ.2556 มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ 1.เพื่อศึกษาระดับความคาดหวังของนายจ้างต่อการจ้างงานคนพิการเข้าทำงานในสถานประกอบการ 2.เพื่อศึกษาระดับปัญหาและอุปสรรคของนายจ้างต่อการจ้างงานคนพิการเข้าทำงานในสถานประกอบการ โดยการวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการในการศึกษาครั้งนี้ คือ กลุ่มตัวแทนนายจ้างในสถานประกอบการที่รับคนพิการเข้าทำงาน จำนวน 148 บริษัท ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ที่ให้ข้อมูลมีตำแหน่งเป็นฝ่ายทรัพยากรบุคคล ร้อยละ 96.6 ประกอบธุรกิจบริการมากที่สุด ร้อยละ 23 มีความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ มีความรู้ระดับปานกลาง ร้อยละ 58.8 มีการจ้างงานคนพิการที่มีความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกายมากที่สุด ร้อยละ 67.6 ส่วนใหญ่สถานประกอบการที่มีนโยบายอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากการจ้างงานคนพิการ ร้อยละ 91.2 ซึ่งนโยบายที่นอกเหนือจากการจ้างงานคนพิการที่บริษัทดำเนินการมากที่สุด คือ การจัดสัมปทานจัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ ร้อยละ 54 การจัดสิ่งอำนวยความสะดวก ร้อยละ 52.0 โดยสิ่งอำนวยความสะดวกที่จัดให้คนพิการมากที่สุดคือ ทางลาด-ขนส่ง ร้อยละ 16.7 ตำแหน่งที่จ้างคือ เสมียน/ธุรการ ร้อยละ 32.7 ผลการศึกษาระดับความคาดหวังของนายจ้างในการจ้างงานคนพิการ พบว่า ระดับความคาดหวังในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และด้านที่มีความคาดหวังมากที่สุดคือ ด้านพฤติกรรมในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างมีความคาดหวังอยู่ในระดับมาก ด้านที่น้อยที่สุดคือ ด้านสิทธิประโยชน์ที่นายจ้างได้รับ กลุ่มตัวอย่างมีความคาดหวังอยู่ในระดับปานกลาง ผลการศึกษาระดับปัญหาและอุปรรคของการจ้างงานคนพิการ พบว่า ระดับภาพรวมของปัญหาและอุปสรรคในการจ้างงานคนพิการ อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีปัญหาและอุปสรรคมากที่สุดคือ การประชาสัมพันธ์ของหน่วยที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2556 ยังให้ความรู้กับสถานประกอบการไม่ทั่วถึงความคิดเห็นอยู่ในระดับปานปลาง อยู่ในระดับปานกลางและปัญหาและอุปสรรคน้อยที่สุดคือคนพิการไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เป็นภาระกับเพื่อนร่วมงาน อยู่ในระดับน้อย ตามลำดับ


คำสำคัญ: คนพิการ ,การจ้างงาน ,นายจ้าง ,ปัญหาและอุปสรรคในการจ้างงาน


บทความวิจัยเรื่องที่ 3 :ดาวน์โหลดบทความวิจัยเรื่องที่ 3ภาพ icon เพื่อให้ทราบว่าเป็นไฟล์ PDF

menu-thai

* ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์ ในวารสารเป็นของผู้เขียนบทความ และมิได้แสดงว่า กองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยราชสุดาและ คณะผู้จัดทำเห็นด้วยทั้งหมด