Skip Content
ไทย / อังกฤษ

ขณะนี้คุณอยู่ที่ | หน้าแรก | ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๑ | ทวี เชื้อสุวรรณทวี

วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ
ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๑ มกราคม - มิถุนายน ประจำปี ๒๕๕๑


บทความวิจัย : การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน : ความหลากหลายแห่งมิติและนัยยะ

ผู้วิจัย : ทวี เชื้อสุวรรณทวี

E-mail : tavee.che@mahidol.ac.th

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบและวิพากษ์วรรณกรรมและปรากฏการณ์ของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน (CBR) เพื่อให้เห็นถึงความหมาย/นัยยะ (Meaning / Significance) ที่แตกต่างไปจากความหมายและแนวคิดที่คุ้นเคยตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การสากลอื่นๆ กำหนด โดยการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากงานวิจัย งานวิทยานิพนธ์ งานเอกสารอื่นๆ เกี่ยวกับงาน CBR และความพิการ/คนพิการ ของไทยและต่างประเทศ จากห้องสมุดวิทยาลัยราชสุดา ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมงานเขียนที่สำคัญจำนวน 20 เรื่อง โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามหลักเกณฑ์ที่ผู้วิจัยกำหนดรวมทั้งข้อมูลภาคสนามจากประสบการณ์ตรงของผู้วิจัย การเยี่ยมคนพิการในภาคสนาม เทปบันทึกการสนทนา การสะท้อนขบคิดระหว่างผู้วิจัยและผู้ร่วมโครงการ ภายใต้โครงการวิจัยเกี่ยวกับ CBR ที่ผู้วิจัยเคยดำเนินการก่อนหน้า ณ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ส่วนการวิเคราะห์ใช้วิธีการตีความ วิพากษ์ และหาข้อสรุปเชิงอุปนัย โดยใช้ทฤษฎีวิพากษ์ (Critical Theory) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ใช้และบูรณาการแนวคิดทางด้านสังคมศาสตร์ ได้แก่ สังคมวิทยา รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ มานุษยวิทยา จิตวิทยา เป็นเครื่องมือในการหาความหมาย ร้อยเรียง เชื่อมโยงความเป็น CBR


ผลการวิจัยพบว่าความหมาย/นัยยะ (Meaning/Significance) ของ CBR แตกต่างไปจากเดิม ในมิติต่างๆ อย่างน้อย 6 มิติ คือ 1) ในฐานะกระบวนการกำหนดอุดมการณ์ทางสังคม 2) ในฐานะกระบวนการแห่งการสลายตราบาปและพิธีกรรมของการเปลี่ยนผ่าน 3) ในฐานะกระบวนการต่อสู่ขัดขืนกับลัทธิทุนนิยม 4) ในฐานะกระบวนการสร้างความยุติธรรมทางสังคม 5) ในฐานะภาคปฏิบัติแห่งวาทกรรม และ 6) ในฐานะ แบบแผนที่มีความบูรณาการ จากผลการวิจัยน่าจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องกับงาน CBR ไม่ว่าจะเป็น ผู้กำหนดนโยบาย นักบริหาร และนักปฏิบัติ เกิดการตื่นรู้ เข้าใจ และรู้เท่าทันชุดความรู้ CBR มากยิ่งขึ้น สามารถหยิบใช้ หรืออยู่กับงาน CBR ได้อย่างลงตัวอย่างที่ควรจะเป็น รวมทั้งช่วยทำให้เกิดข้อถกเถียงทางวิชาการหรือการศึกษาวิจัยในแง่มุมต่างๆ ได้มากขึ้น

Abstract

This Research aims toexamine and critique literatures and phenomena of Community Based Rehabilitation (CBR) in terms of the different meaning and significance beyond the traditional meaning as WHO and other international organizations defining. The 20 existing literatures regarding CBR and disability in which have been available in the library of Ratchasuda College, Mahidol University and Thamasat University were purposively collected. The data as direct experiences, filed visits, and tape-recording of dialogues and reflections among researcher and other participants within the previous research project in Phutthamonthon District, Nakornpathom Province, Thailand were also undertaken. The critical theory approach as interpretation and dialectical critique were administered on those data for constructing meaning or significance of CBR.


The resultsreveal that there are the 6 different meanings and perspectives of CBR as follows: 1) a process for establishment of society ideal 2) a process for stigma breakdown and a ritual of passing 3) a competitor of capitalism 4) a social justice 5) a practice of discourse 6) an integral model. The research results suggest that once those different meanings and perspectives of CBR have been illustrated, the new understanding and awareness of policy makers, administrators and practitioners concerning CBR have to be emphasized. Furthermore, the new academic arguments on CBR should be studied.


คำสาคัญ: การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน ซีบีอาร์ ความพิการ ความหมาย วิพากษ์
Community Based Rehabilitation ,CBR, Disability, Meaning, Critique

วารสารฉบับเต็ม :ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม ภาพ icon เพื่อให้ทราบว่าเป็นไฟล์ PDF

menu-thai

* ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์ ในวารสารเป็นของผู้เขียนบทความ และมิได้แสดงว่า กองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยราชสุดาและ คณะผู้จัดทำเห็นด้วยทั้งหมด