Skip Content
ไทย / อังกฤษ

ขณะนี้คุณอยู่ที่ | หน้าแรก | ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม / ธันวาคม ๒๕๕๓ | สุพัตรา ซ้วนลิ่ม และ เบญจมาศ กุฏอินทร์

วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ
ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม / ธันวาคม ๒๕๕๓


บทความวิจัย : ความต้องการเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกภายในบ้านของผู้สูงอายุ
และคนพิการที่เข้าใช้บริการ ที่ห้องกายภาพบำบัด ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก

ผู้วิจัย : สุพัตรา ซ้วนลิ่ม และ เบญจมาศ กุฎอินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกภายในบ้านของผู้สูงอายุและคนพิการที่เข้าใช้บริการที่ห้องกายภาพบำบัด ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัย มหิดล วิทยาเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม ผู้วิจัยได้สัมภาษณ์บุคลากรทางการแพทย์ ผู้สูงอายุ คนพิการและญาติหรือผู้ดูแล โดยใช้แบบสัมภาษณ์พร้อมภาพประกอบ แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ผู้สูงอายุและคนพิการแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้ กลุ่มแรกเป็นกลุ่มที่ต้องการการพึ่งพาทั้งหมด กลุ่มที่สองคือกลุ่มที่ต้องการการพึ่งพาบ้าง กลุ่มสุดท้ายคือกลุ่มที่ต้องการใช้ชีวิตแบบอิสระ ผู้สูงอายุและคนพิการทั้ง 3 กลุ่มมีปัญหาและความต้องการอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่แตกต่างกัน กลุ่มแรกมีความต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกน้อยมาก เนื่องจากต้องพึ่งพาผู้ดูแลตลอดเวลา กลุ่มที่สองต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้นและคิดถึงสิ่งอำนวยความสะดวกเผื่อไว้ในอนาคต ส่วนกลุ่มที่สามมีความต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกแบบเจาะจงรูปแบบที่เหมาะสมกับตนเองเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้เหมือนบุคคลอื่น

Abstract

The objective of this research was to study the needs for assistive technology devices in the homes of elderly patients and patients with disabilities who receive treatments at Physical Therapy Unit, Golden Jubilee Medical Center, Mahidol University, Salaya Campus, Nakhon Pathom Province. The data were collected by conducting interviews (with illustrations) with medical staff, elderly patients, patients with disabilities, and their relatives or caregivers. After analyzing the data, the results were as follows: elderly patients and patients with disabilities were divided into three groups. The first group comprised patients who were completely dependent. The second group consisted of patients with disabilities who were partially dependent. The third group included those who wanted to live independently. From the study, it was found that on these three groups had different needs for assistive technology device. The first group had very little need for facilities due to their high dependence on caregivers. The second group needed more assistive technology devices and considered facilities for future use. The third group had specific needs on the design of suitable facilities that could help them live like a normal person.


คำสาคัญ: ผู้สูงอายุ คนพิการ สิ่งอำนวยความสะดวก
Older People, People with disabilities, Assistive Technology

menu-thai

* ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์ ในวารสารเป็นของผู้เขียนบทความ และมิได้แสดงว่า กองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยราชสุดาและ คณะผู้จัดทำเห็นด้วยทั้งหมด