Skip Content
ไทย / อังกฤษ

ขณะนี้คุณอยู่ที่ | หน้าแรก | ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม / ธันวาคม ๒๕๕๓ | กาญจนา มิตตานนท์สกุล

วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ
ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม / ธันวาคม ๒๕๕๓


บทความวิจัย : เจตคติและปัญหาในการให้บริการต่อคนพิการของคนขับรถแท็กซี่

ผู้วิจัย : กาญจนา มิตตานนท์สกุล

E-mail : kanjana_rsrs49@hotmail.com

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้คือ เพื่อศึกษาเจตคติและปัญหาของคนขับรถแท็กซี่เกี่ยวกับการให้บริการรับส่งคนพิการ และความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติของคนขับรถแท็กซี่กับข้อมูลส่วนบุคคลของคนขับรถแท็กซี่ โดยการวิจัยครั้งนี้จะใช้แบบสำรวจเจตคติต่อคนพิการ Attitude Toward Disable Person Scale (ATDPS) Form A ทำการคำนวณหาค่ากลางของข้อมูล ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และแบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาของคนขับรถแท็กซี่ในการรับส่งคนพิการ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ คนขับรถแท็กซี่ในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 100 คน เก็บข้อมูลในเดือนมิถุนายน 2553


ผลการศึกษา พบว่า คนขับรถแท็กซี่ส่วนใหญ่มีเจตคติในระดับปานกลางค่อนข้างไปทางสูงต่อคนพิการ และปัญหาของคนขับรถแท็กซี่ในการรับส่งคนพิการได้แก่ การขึ้นลงรถช้าของคนพิการกลัวกีดขวางการจราจร การเรียกรับส่งในบริเวณจอดได้ยาก การกลัวว่าคนพิการบอกทางไม่ถูก การไม่ทราบวิธีช่วยเหลือคนพิการในการขึ้นลงรถ การกลัวคนพิการทางจิตทำร้ายร่างกาย กระโดดลงจากรถ และกลัวคนพิการเจ็บป่วยร้ายแรงบนรถแล้วไม่ทราบจะช่วยอย่างไร ความรู้สึกกลัวสื่อสารกับคนหูหนวกไม่เข้าใจ เป็นต้น ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยนี้คือ ในส่วนของคนขับรถแท็กซี่ควรจัดการอบรมให้ความรู้ในการให้บริการช่วยเหลือคนพิการขึ้นลงรถแท็กซี่ และการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นหากมีความเจ็บป่วยร้ายแรงในขณะโดยสารรถแท็กซี่เพื่อให้คนขับรถแท็กซี่มีความมั่นใจในการบริการรับส่งคนพิการมากขึ้น และในส่วนของคนพิการควรมีการสนับสนุนให้คนพิการเห็นคุณค่าในตนเอง ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีแก่คนพิการ รวมทั้งประชาสัมพันธ์คนพิการที่ควรนำมาเป็นแบบอย่าง หรือคนพิการที่มีภาพลักษณ์ดีๆ ให้มากขึ้น

Abstract

The purposesof this study were to investigate attitude and problems of taxi drivers and to investigate the relationship between the taxi drivers' attitude toward their personal information. The Attitude Toward Disable Person Scale (ATDPS) Form A was used as a research tool to find out its mean scores, standard deviation and percentage. A questionnaire was also used to find out and specify problems of taxi drivers while providing their service to disabilities persons. The sampling of this study consists of 100 taxi drivers in Bangkok metropolitan area. These data were completely collected in June 2010.


The results of this study revealed taxi drivers' attitude towards disabilities persons at medium level tending to high level of the scale. The problems of the taxi drivers while providing service to disabilities persons were specified as following: concerning about ability of disabilities persons to get on and get off a taxi; concerning about providing service to in congestion area; concerning about ability to give direction of disabilities persons; lack of knowledge for help and supporting disabilities persons to get on and get off a taxi; and also concerning about communication with deaf person. The recommendations of this study were: (1) giving knowledge and skills of help and supporting disabilities persons for taxi drivers is necessary to increase their confident and also motivate them to provide their service to disabilities persons; (2) supporting disabilities persons to increase their self-esteem and providing impression image of disabilities persons to public also necessary.


คำสาคัญ: เจตคติ พิการ แท็กซี่
Attitudes, Disabilities, Taxi

menu-thai

* ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์ ในวารสารเป็นของผู้เขียนบทความ และมิได้แสดงว่า กองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยราชสุดาและ คณะผู้จัดทำเห็นด้วยทั้งหมด