Skip Content
ไทย / อังกฤษ

ขณะนี้คุณอยู่ที่ | หน้าแรก | ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑๑ | ดลพร เผือกคง

วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ
ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑๑ มกราคม - ธันวาคม ๒๕๕๕


บทความวิจัย : สถานการณ์และการบังคับใช้กฎหมายด้านการศึกษาของคนพิการ
ในทศวรรษที่ผ่านมาของประเทศไทย

ผู้วิจัย : ดลพร เผือกคง

E-mail : dolaporn.phe@mahidol.ac.th

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์ และสังเคราะห์เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของคนพิการที่เผยแพร่ในปี พ.ศ.2542-2553 เพื่อศึกษาว่า คนพิการได้รับการคุ้มครอง และส่งเสริมตามรัฐธรรมนูญว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการหรือไม่เพียงใด โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 207 เรื่อง ผลการศึกษาพบว่า งานวิจัยส่วนใหญ่ตีพิมพ์เผยแพร่มากที่สุดในปี 2549 โดยเป็นวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ในระดับบัณฑิตศึกษาคือในระดับปริญญาโท ข้อมูลเชิงคุณภาพพบว่า รูปแบบการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนจัดการเรียนร่วมนั้น ส่วนใหญ่เป็นการสอนแบบเรียนร่วมที่คนพิการได้รับการจัดการศึกษาใน 4 รูปแบบ ได้แก่ การเรียนร่วม การเรียนร่วมบางเวลา การเรียนร่วมแบบคู่ขนาน และการเรียนแบบเฉพาะทาง มีการพัฒนาสื่อการสอน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ตลอดจนพัฒนาโปรแกรมต่างๆ เพิ่มขึ้น มีข้อจำกัดด้านการจัดการเรียนร่วมคือขาดแคลนบุคลากรทางการศึกษาพิเศษ ขาดแคลนงบประมาณ ไม่มีนโยบาย หรือแนวปฏิบัติที่ชัดเจนเกี่ยวกับนักเรียนหรือนักศึกษาพิการ

Abstract

This research aims to analyze and synthesize the publications and normative texts regarding persons with disabilities from 1999 to 2010 to investigate the effectiveness of the constitution concerned the Promotion and Development of Life Quality of Disabled Persons particularly in education with the 207 topics of purposive sampling. The study reveals that the majority Published research were announced the most in 2006 which were the thesis or thematic papers. The results found that there were mostly four models for integrated school: full-time integrated study, partial integrated study, parallel study and particular study; there were mass media instruction development, computer assisted instruction including the development of all programs. The problems and obstacles in integrated educational management appear that; shortage of personnel in the field of special education; budget allocation and the overall policy for disabled students is not sustainable.


คำสาคัญ: พิการ, การศึกษา, การสังเคราะห์งานวิจัย
Disabilities, Education, Research Synthesis

menu-thai

* ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์ ในวารสารเป็นของผู้เขียนบทความ และมิได้แสดงว่า กองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยราชสุดาและ คณะผู้จัดทำเห็นด้วยทั้งหมด